ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ มาตรการการดำเนินงานและตัวชี้วัด 44 ตัว เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ที่กำหนด ประกอบด้วย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย แบ่งกลุ่มวัยที่ต้องดูแล 5 กลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) /สตรี กลุ่มเด็กวัยเรียน (5 -14 ปี) กลุ่มเด็กวัยรุ่น/นักศึกษา (15-21 ปี) กลุ่มวัยท างาน(15-59 ปี) กลุ่มผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป)และผู้พิการ
  • ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและจัดระบบบริการใน 5 ประเด็น ได้แก่ การเข้าถึงบริการ คุณภาพบริการ คุณภาพการบำบัดรักษา บริการเฉพาะ กลุ่มระบบบริการ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สามารถสนับสนุนการจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การจัดการระบบบุคลากร การเงินการคลัง ยาและเวชภัณฑ์ ระบบข้อมูล การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณเพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพในแต่ละยุทธศาสตร์ บรรลุตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่กำหนด

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ จึงจัดทำเอกสารฉบับนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานและจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ถูกต้องตามขอบเขต คำนิยามที่กำหนด

[Download not found]

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกสิ้นพระชนม์ จึงกำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างไว้ทุกข์ 30 วัน ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม ถึง 23 พฤศจิกายน 2556

ตามที่ได้มีประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สิ้นพระชนม์ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์ มีกำหนด ๑๕ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ นั้น

โดยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเจริญด้วยพระคุณธรรมอันเปี่ยมล้น และได้ทรงบำเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่พระบวรพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา ประกอบกับประชาชนจำนวนมากต่างเศร้าโศกอาลัยในการสิ้นพระชนม์ ดังนั้น เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย รัฐบาลจึงเห็นสมควรประกาศให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม ๑๕ วัน เป็น ๓๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ทั้งนี้ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันไว้ทุกข์ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย โดยพร้อมเพรียงกัน

Continue reading

[ภาพบรรยากาศ]กีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556 “ต้นตาลเกมส์” สนามกีฬาโรงพยาบาลศรีเมืองใหม่

ภาพบรรยากาศกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556 “ต้นตาลเกมส์” สนามกีฬ่าโรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖

[ภาพบรรยากาศ]พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช

พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันปิยมหาราช โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชน รวมหน่วยงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร และ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร เข้าแถวทยอยนำพวงมาลา มาถวายราชสักการะแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกัน ณ ที่ว่าการอำเภอโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

ประกาศ อำเภอโพธิ์ไทรดับไฟฟ้าชั่วคราวในวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 12.00 – 13.30 โดยประมาณ

การไฟฟ้า มีความจำเป็นต้องทำงานเกี่ยวกับสายป้อนไฟฟ้าแรงสูง ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาระบบ การจ่ายกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวในวันที่ 22 ตุลาคม 2556 เวลา 12.00 – 13.30 โดยประมาณ จึงแจ้งให้่ทราบโดยทั่วกัน

 

[ภาพบรรยากาศ]เนื่องจากวันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันทันตสาธารณสุข ทางฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ได้จัดบริการตรวจฟันฟรี เวลา 08.30 น.-16.00น.

เนื่องจากวันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันทันตสาธารณสุข ทางฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ได้จัดบริการตรวจฟันฟรี ขูดหินปูน ถอนฟัน อุดฟัน ฟรีทุกสิทธิ์การรักษา เวลา 08.30 น.-16.00น.
** ใครอยากเจอหมอฟันหล่อๆ สวยๆ แวะมาใช้บริการได้ ^^

แจ้งกำหนดการแข่งขันกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 ผู้ประสานงานกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556 ทั้ง 6 คปสอ. ได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดจัดการแข่งขันและกติกาการแข่งขันกีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556 ขึ้น ณ ห้องประชุม โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดการแข่งขันกีฬามีดังนี้
เกาะติดขอบสนาม

    • กีฬาสาธารณสุขสัมพันธ์โซน 2 ปี 2556 ในชื่อ “ต้นตาลเกมส์” เจ้าภาพจัดการแข่งขันคือ คปสอ.นาตาล
    • สีประจำแต่ละคปสอ.มีดังนี้
      • คปสอ.นาตาล สีน้ำเงิน
      • คปสอ.กุดข้าวปุ้น สีม่วง
      • คปสอ.โพธิ์ไทร สีชมพู
      • คปสอ.เขมราฐ สีส้ม
      • คปสอ.ศรีเมืองใหม่ สีฟ้า
      • คปสอ.ตระการพืชผล สีเขียว
    • สนามและวันวันเวลาการแข่งขัน
วันที่ คปสอ.เจ้าภาพ สนาม/หมายเหตุ
14 ตุลาคม 2556 คปสอ.นาตาล
24 ตุลาคม 2556 คปสอ.ศรีเมืองใหม่
31 ตุลาคม 2556 คปสอ.กุดข้าวปุ้น
5 พฤศจิกายน 2556 คปสอ.โพธิ์ไทร
14 พฤศจิกายน 2556 คปสอ.เขมราฐ
19 พฤศจิกายน 2556 คปสอ.ตระการพืชผล
21 พฤศจิกายน 2556 คปสอ.นาตาล แบดมินตัน ฟุตซอล
23 พฤศจิกายน 2556 คปสอ.นาตาล นัดชิงชนะเลิศ
  • กีฬาที่ใช้จัดการแข่งขัน/กติกาและการแบ่งสายการแข่งขัน
    • ฟุตบอล
      สาย A : คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.ศรีเมืองใหม่, คปสอ.เขมราฐ
      สาย B : คปสอ.กุดข้าวปุ้น, คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.นาตาล
    • ฟุตซอล
      สาย A : คปสอ.กุดข้าวปุ้น, คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.เขมราฐ
      สาย B : คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.ศรีเมืองใหม่, คปสอ.นาตาล
    • วอลเลย์บอลชาย/หญิง
      สาย A : คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.เขมราฐ, คปสอ.ศรีเมืองใหม่
      สาย B : คปสอ.กุดข้าวปุ้น, คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.นาตาล
    • บาสเกตบอลชาย/หญิง
      สาย A : คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.กุดข้าวปุ้น, คปสอ.นาตาล
      สาย B : คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.เขมราฐ, คปสอ.ศรีเมืองใหม่
    • ตระกร้อชาย/หญิง
      สาย A : คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.เขมราฐ
      สาย B : คปสอ.ศรีเมืองใหม่, คปสอ.นาตาล, คปสอ.กุดข้าวปุ้น
    • เปตอง
      สาย A : คปสอ.ตระการพืชผล, คปสอ.นาตาล, คปสอ.เขมราฐ
      สาย B : คปสอ.ศรีเมืองใหม่, คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.กุดข้าวปุ้น
    • แบดมินตัน
      สาย A : คปสอ.นาตาล, คปสอ.กุดข้าวปุ้น, คปสอ.เขมราฐ
      สาย B : คปสอ.ศรีเมืองใหม่, คปสอ.โพธิ์ไทร, คปสอ.ตระการพืชผล
    • เทเบิลเทนนิส

[สาระความรู้]เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านมขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งมาดูกันว่าจะมีวิธีใดช่วยลดความเสี่ยงจากโรคนี้

ICD-10 C50

ICD-9 174 (Malignant neoplasm of female breast)-175(Malignant neoplasm of male breast)

ปัจจัยเสี่ยง

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย
  • ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
  • การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

อาการเริ่มต้นที่อาจจะเป็นมะเร็ง

มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

  • มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
  • ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
  • หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
  • มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
  • เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
  • การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

 

 

การตรวจเต้านมตนเอง

การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

วิธีการตรวจ 3 ท่า

ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

  1. ยืนหน้ากระจก

    • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
    • ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
    • ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น
    • โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว
  2. นอนราบ

    • นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
    • ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
    • ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย
  3. ขณะอาบน้ำ

    • สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน
    • สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน

ระยะของมะเร็งเต้านม

  • ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
  • ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

การดูแลเต้านม

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  • หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ

การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป

  1. ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน

เอกสารเผยแพร่

[Download not found] [Download not found]

ที่มา

ขอเชิญเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่าน ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งตัวแทนข้าราชการ/ลูกจ้าง ในวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2556

ขอเชิญเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่าน ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งตัวแทนข้าราชการ/ลูกจ้าง เพื่อไปทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล (กกบ.) ประจำปีงบประมาณ 2557 ในวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 08:00 – 15:00 น. ณ กลุ่มงานการจัดการ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

ขอเชิญนักกีฬาฟุตบอลเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทรร่วมแข่งขันกีฬาฟุตบอล(นัดตกค้างกีฬาสี) แข่งขันเวลา 16.00 น. ในวันอังคารที่ 1 ต.ค 56 ณ สนามเล็กหลังอาคารซักฟอก

ขอเชิญนักกีฬาฟุตบอลเครือข่ายสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทรร่วมแข่งขันกีฬาฟุตบอล(นัดตกค้างกีฬาสี) แข่งขันเวลา 16.00 น. ในวันอังคารที่ 1 ต.ค 56 ณ สนามเล็กหลังอาคารซักฟอก โรงพยาบาลโพธิ์ไทรโดยชุดแข่งขัน

  • สีเขียว โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
  • สีม่วง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทรและหน่วยงานในสังกัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณหมอณัชพันธ์(หมอกอล์ฟ), คุณชนะจิต(พี่จ่อย), คุณพัลลภ(โต้ง), คุณมงคล(พี่เปี๊ยก), คุณสิงโต