[คู่มือ]การเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ได้จัดทำคู่มือการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาบุคลากรโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อเพิ่มประสทธิภาพของการสื่อสาร ประสานโปรแกรมระบบสารสนเทศ และการบันทึกรายงานใหคลองตัวและครอบคลุมทั่วทั้งองคกร
  3. เพื่อลดความสญเปล่าในกระบวนการปฏิบัติงาน (ระยะเวลา ตนทุน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)

ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

  1. การบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทรเป็นระบบสารสนเทศที่อยู่บนระบบอินเตอร์เนตสามารถเข้าใช้งานได้โดยการเข้าเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (https://www.psh.go.th)
  2. ทำการเลือกเมนู บริการ > ระบบบันทึกการประชุม
    MeetingMemo-03-fs8
  3. ทำการล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (กรณีหากไม่มีชื่อเข้าใช้งาน สามารถทำการสมัครสมาชิก โดยกรอก Username และ Email ระบบจะทำการส่งขั้นตอนการสมัครไปที่อีเมล์ที่ระบุ)
    Howto-RM-03-fs8
  4. กรอกข้อมูลรายงานการประชุมที่เข้าร่วม
    MeetingMemo-01-fs8
  5. หากมีไฟล์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ไฟล์จากงานประชุมสามารถทำการแนบไฟล์ดังกล่าว โดยไฟล์ดังกล่าวขนาดต้องไม่เกิน 32 MB และรองรับไฟล์บีบอัดเท่านั้น (*.zip, *.rar, *.7zip)
    MeetingMemo-02-fs8
  6. กดปุ่ม ‘บันทึกการประชุม

สธ. เร่งยกมาตรฐาน “ระบบรถพยาบาล” ออกใบขับขี่สำหรับพนักงานขับรถให้เป็นการเฉพาะ

กระทรวงสาธารณสุข ตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบรถพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อวางมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงานและผู้เจ็บป่วย ป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ เริ่มตั้งแต่มาตรฐานพนักงานขับรถ จะออกใบขับขี่รถพยาบาลโดยเฉพาะ ไปจนถึงพยาบาล รถพยาบาล ศูนย์สั่งการประสานติดตาม ข้อบ่งชี้การส่งต่อผู้ป่วย ความเร็วของรถ การจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษ รวมทั้งความร่วมมือจากประชาชนและสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยถึงมือแพทย์ยังโรงพยาบาลปลายทางปลอดภัยที่สุด

นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบรถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเกิดอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงานนำส่งผู้ป่วยอยู่เนืองๆเช่นที่ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนามาตรฐานของระบบรถพยาบาลขึ้น 1 ชุดเป็นการเฉพาะ โดยมีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขฉุกเฉินเป็นประธาน โดยในเรื่องของรถพยาบาลฉุกเฉินที่ใช้ในโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศกว่า 800 แห่งซึ่งมีกว่า 2,500 คันขณะนี้สภาพค่อนข้างใหม่ มีสมรรถนะดีอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือการวางมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอย่างเป็นระบบ สมบูรณ์แบบทุกขั้นตอน เพื่อลดความสูญเสียและสร้างความเชื่อมั่นแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบนรถพยาบาลฉุกเฉิน และผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เป็นสำคัญ

นายแพทย์วชิระกล่าวต่อว่า ในการศึกษาระบบดังกล่าวได้วางไว้ 7 เรื่อง ได้แก่

  1. พนักงานขับรถหรือพขร.ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก จะยกระดับมาตรฐานคนขับพยาบาลฉุกเฉินโดยเฉพาะ พัฒนาหลักสูตรการขับรถพยาบาล และจัดอบรมตามสถานการณ์ต่างๆเหมือนจริง เพื่อออกใบขับขี่ให้เฉพาะรถพยาบาลเท่านั้น รวมถึงมาตรการตรวจแอลกอฮอล์ ตรวจสารเสพติดก่อนขับ การทดสอบสุขภาพจิตปีละครั้ง มีประกันชีวิตอุบัติเหตุหมู่ การจัดค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษกว่าพนักงานขับรถราชการๆทั่วไป
  2. พยาบาลที่ไปกับรถ ต้องมีทักษะประสบการณ์ การดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่ส่งต่อ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยซึ่งสำคัญที่สุด มีประกันอุบัติเหตุหมู่ และค่าตอบแทนพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
  3. เรื่องรถพยาบาล โครงสร้างตัวถังรถต้องแข็งแรง จะต้องตรวจเช็ค ติดตั้งจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ ติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) สามารถติดตามตำแหน่ง ควบคุมความเร็ว ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาณภาพเพื่อติดตามอาการผู้ป่วย
  4. ระบบของศูนย์สั่งการ ติดตั้งจีพีเอส (GPS) ประจำรถ เพื่อสามารถติดตามตำแหน่งพิกัดของรถพยาบาล ควบคุมความเร็ว และติดตั้งเครื่องติดตามอาการผู้ป่วย( Control monitor) การคัดกรองอาการความรุนแรงของผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ และระบบประสานการจราจร ให้เกิดความคล่องตัวระหว่างการนำส่ง
  5. เรื่องการส่งต่อผู้ป่วย( Refer ) ประกอบด้วยการซักซ้อมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ข้อบ่งชี้ของการส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อในช่วงเวลาไม่เหมาะสม และมีการแจ้งข้อมูลและทำความเข้าใจแก่ผู้ป่วย และญาติ ก่อนนำส่งต่อคร่าวๆ
  6. มาตรฐานการขับรถพยาบาล มีการจำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง ให้ยึดกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยเป็นหลัก และ
  7. การขอความร่วมมือจากประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน และสังคม ให้หลบและให้ทางรถพยาบาลฉุกเฉิน ทั้งนี้คาดว่าจะประกาศใช้ในเร็วๆนี้

ที่มา

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2556 ได้แล้ววันนี้

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2556  ได้แล้ววันนี้ (โดยสามารถติดต่อขอรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัชฏากร ได้ที่งานการเงิน กลุ่มงานการจัดการทั่วไป)

RD-Site-fs8

[ภาพบรรยากาศ] การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน ชมรมกีฬาโรงพยาบาลโพธิ์ไทร ปี 2557 ในวันที่ 13 มี.ค 2557

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจัด “การแข่งขันกีฬาฟุตบอล 7 คน ชมรมกีฬาโรงพยาบาลโพธิ์ไทร  ปี 2557” ในวันที่ 13 มี.ค 2557 ณ สนามด้านหลังโรงพยาบาล(ข้างซัพพลาย) โดยแบ่งทีมการแข่งขันเป็น 2 ทีม

football-club2014

  1. สิงห์เหนือ(เสื้อสีเขียว) โดยมีสมาชิกในทีมดังนี้
    หมอก๊อป อภิสิทธิ์ สุนทรพจน์ สุภชัย วิเชียร ศิริศักดิ์ มานพ เกียรติศํกดา รักชาติ เสกสรร สวัสดิ์
    หมอ โอ๊ต ทินกร ธีรพงษ์ วชิระ สุรศักดิ์ ศักดิ์ดา บุญส่ง.ขัน สอ.สุทัศน์ เฉลิมชัย มีศักดิ์ สืบศักดิ์ 
  2. เสือใต้      (เสื้อสีชมพู) โดยมีสมาชิกในทีมดังนี้
    ผอ.หมอเปา พัลลภ ประเด่น จำลอง ขนะ น้าหาญ วิระ บุญส่ง แสงแดง คะนอง บุญมี ชนะจิต
    ปริติบารมี ประสิทธิ์ วิชัย มนตรี กฤษณา ประดิษฐ์ น้าถิน ไกรทอง อุทัย สิริชัย ยงยุทธ
  3. รูปแบบการแข่งขัน
    • ในสนามทีมละ 7 คน  รวมประตู  แข่งครึ่งละ 20 นาที
    • มีงานเลี้ยงเล็ก
  4. เริ่มแข่งขันเวลา 15.45 น. เป็นต้นไป  ณ.  สนามด้านหลังโรงพยาบาล(ข้างซัพพลาย)

ภาพบรรยากาศการแข่งขัน
PSH-FBC-2014-THEONE-00

[ภาพบรรยากาศ]การประเมินงานคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

ภาพบรรยากาศการประเมินงานคลินิกยาเสพติด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ตำรวจ ครู ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สารธารณสุข คปสอ.โพธิ์ไทร เข้าร่วมรับการประเมิน ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา

[คู่มือ]การเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

ระบบบริหารความเสี่ยง (Risk management system) คือ การประสานเชื่อมโยงกิจกรรมบริหาร ความเสี่ยงทั้งหมดเขาดวยกัน

จากการทบทวนระบบการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล พบวา โรงพยาบาลมีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงอยางเปนระบบในหนวยบริการและระบบงานต่าง ๆ แตยังมีโอกาสพัฒนาในเรื่องดังนี้ การประสานโปรแกรมระบบสารสนเทศ การคนหาและจัดระดับความสําคัญของความเสี่ยงการกําหนดมาตรการปองกันและการสื่อสารความตระหนักระบบการรายงานอุบัติการณ และการวิเคราะหหาสาเหตุของปญหา

งานพัฒนาคุณภาพการบริการเห็นความสําคัญวาการพัฒนากระบวนการบรหารความเสี่ยงเปนสวนสําคัญ ซึ่งจะนําไปสูระบบบริการสุขภาพที่ปลอดภัยจึงไดจัดทําโครงการนี้ขึ้น เพื่อพัฒนากระบวนการการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาลใหมประสิทธิภาพ โดยจัดทําโปรแกรมระบบฐานขอมูลอินเตอร์เน็ตบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล อันจะสงผลใหเพมประสิทธิภาพของการสื่อสาร ประสานโปรแกรมระบบสารสนเทศ และการรายงานอุบัติการณใหคลองตัวและครอบคลุมทั่วทั้งองคกร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนากระบวนการบรหารความเสี่ยงโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อเพิ่มประสทธิ ิภาพของการสื่อสาร ประสานโปรแกรมระบบสารสนเทศ และการรายงานอุบัติการณ์ใหคลองตัวและครอบคลุมทั่วทั้งองคกร
  3. เพื่อลดความสญเปล่าในกระบวนการปฏิบัติงาน (ระยะเวลา ตนทุน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)

ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบบริหารความเสี่ยง

  1. ระบบบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลโพธิ์ไทรเป็นระบบสารสนเทศที่อยู่บนระบบอินเตอร์เนตสามารถเข้าใช้งานได้โดยการเข้าเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (https://www.psh.go.th)
  2. ทำการเลือกเมนู บริการ > ระบบบริหารและจัดการความเสี่ยงโรงพยาบาล (RM)
    Howto-RM-01-fs8
  3. ทำการล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (กรณีหากไม่มีชื่อเข้าใช้งาน สามารถทำการสมัครสมาชิก โดยกรอก Username และ Email ระบบจะทำการส่งขั้นตอนการสมัครไปที่อีเมล์ที่ระบุ)
    Howto-RM-03-fs8
  4. กรอกข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น
    Howto-RM-02-fs8
  5. กดปุ่ม ‘ส่งการรายงานอุบัติการณ์
  6. ระบบบริหารและจัดการความเสี่ยงจะสรุปรายงานอุบัติการณ์ให้ทราบในแท็บ ‘สรุปรายงานอุบัติการณ์
    Howto-RM-04-fs8
**หมายเหตุ
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาจากการใช้งานสามารถติดต่อ

  • คุณรัตนพร คุณพาที งานพัฒนาคุณภาพการบริการ ฝ่ายการพยาบาล (#800)
  • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ (#818)

ป.ป.ส. จับเครือข่ายค้ายาบ้า ใน “ชุมชนวัดมะกอก” ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้ต้องหา 6 คน ยาบ้า 100,000 เม็ด

วันที่ 4 มีนาคม 2557 เวลา 15.00 น. พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมด้วย นายสิทธิศักดิ์ กัลยาณประดิษฐ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักปราบปรามยาเสพติด นายจักรี เปรมสมิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ปปส.กทม. และนางนิด แสงคำทอง ประธานชุมชนวัดมะกอก ได้ร่วมกันแถลงข่าวจับกุมเครือข่ายนักค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่ร่วมกันจัดหายาเสพติดจากพื้นที่ภาคเหนือมาจำหน่ายในชุมชนวัดมะกอก ย่านอนุสาวรีย์ชัยและพื้นที่ใกล้เคียงได้ผู้ต้องหา จำนวน 6 คน พร้อมของกลางยาบ้า 100,000 เม็ด

อ่านต่อ

 ที่มา : http://www.oncb.go.th/PortalWeb/applications/collaboration/ONCBHotNewsCMS/internet/showHotNews.do?pathHotNews=/BEA%20Repository/ONCBNews/News/2557/03/0601_news_PPP/news