โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจัดการประชุมนิเทศติดตามการดำเนินงาน Wafarine Clinic วันที่ 29 พ.ค 2558

เมื่อวันที่ 29 พ.ค 2558 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจัดการประชุมนิเทศติดตามการดำเนินงาน Wafarine Clinic โดยคณะนิเทศงานWafarine Clinic จากโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981008661943872.1073741844.311434945567917]

คลินิค COPD/Asthma โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ต้อนรับทีม COPD/Asthma จากโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 คลินิค COPD/Asthma โรงพยาบาลโพธิ์ไทรยินดีต้อนรับทีม COPD/Asthma จากโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานผู้ป่วย COPD และ Asthma

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981010185277053.1073741845.311434945567917]

การประชุมทีมหมอครอบครัว Family Care Team : FCT เครือข่ายสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ทีมหมอครอบครัว Family Care Team : FCT เครือข่ายสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร ร่วมประชุมการดำเนินงานตามนโยบายทีมหมอครอบครัว ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิืไทร

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981012595276812.1073741846.311434945567917]

 

ทำไมในโรงพยาบาล “ห้ามถ่ายภาพ”

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและรวดเร็วจนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นความลับของผู้ป่วย แต่ขณะนี้มักพบเห็นการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น มีการถ่ายรูปผู้ป่วยระยะสุดท้ายพร้อมเขียนข้อความขอความช่วยเหลือ ส่งข้อความต้องการขอรับบริจาคเลือดโดยมีการระบุชื่อผู้ป่วย การแสดงผลฟิล์มเอกซเรย์ การถ่ายภาพภายในห้องของผู้ป่วย ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นต้น

ทั้งนี้ เชื่อว่าผู้ที่กระทำมีเจตนาที่ดี แต่ปัญหาคือการสื่อสารเช่นนี้แบบไหนถึงจะพอดี เพราะต้องเข้าใจว่าบางโรคผู้ป่วยก็ไม่อยากเปิดเผย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงาน ยิ่งไปกว่านั้นท่ามกลางความขัดแย้งในปัจจุบันอาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างได้ อย่างสื่อมวลชนกระแสหลักก็ต้องมีความระมัดระวัง เช่น กรณีรักษาการนายกรัฐมนตรี หรืออดีตนายกรัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุแค่ไหนจึงพอเหมาะพอควร ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ

ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ทั้งข้อมูลส่วนตัว สุขภาพ และการรักษา จะมีคนเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณมากำกับ รักษาความลับของผู้ป่วย ส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในระบบบริการต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย เพราะหากไม่ใส่ใจข้อมูลอาจหลุดได้ และคนทั่วไปที่รู้ข้อมูลโดยการมาเยี่ยมหรือมีคนส่งต่อมาให้ ย่อมมีโอกาสเอาข้อมูลไปกระจายทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจกระทบต่อคนไข้ สังคม ก่อเกิดความเกลียดชัง ปัญหาขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยสามารถทำได้ แต่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย ไม่ระบุชื่อผู้ป่วย

เรื่องข้อมูลสุขภาพต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล 3 เรื่อง คือ

  1. หลักสากลซึ่งไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ
  2. รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลไว้ชัดเจน และ
  3. หลักกฎหมาย ซึ่งมีระบุไว้หลายฉบับในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

และปัจจุบันกำลังมีการมีการยกร่างกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลด้วย แม้แต่วิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขก็มีการออกประกาศสิทธิผู้ป่วยไว้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ควรคำนึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของวิชาชีพมากกว่า เพราะหากนึกว่าเราเป็นผู้ป่วยเองเราจะยินยอมหรือไม่ เป็นลักษณะของใจเขาใจเรา

สำหรับหลักจริยธรรมด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์จะมี 4 เรื่องคือ

  1. อิสระของผู้ป่วย คือผู้ป่วยมีสิทธิของเขา ผู้ปฏิบัติวิชาชีพต้องระวัง มิใช่ว่ามีข้อมูลของผู้ป่วยแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ ผู้ป่วยมีสิทธิพิทักษ์รักษา
  2. ประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
  3. ไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และ
  4. หลักการยุติธรรม ดูความเท่าเทียมเสมอภาค
[note note_color=”#ee0518″ text_color=”#0d0a0a”]หากผู้ป่วยถูกละเมิด ผู้ป่วยและญาติสามารถฟ้องได้ตามมาตรา 7 โดยผู้ละเมิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[/note]

ส่วนกฎหมายใหม่ที่กำลังยกร่างก็ต้องทำการฟ้องเช่นกัน ทั้งนี้ ในยกร่างกฎหมายใหม่คงไม่มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย เพราะสังคมมีความสลับซับซ้อน มีการกระทำเช่นนี้เป็นจำนวนมาก จึงมีการเสนอว่าต้องให้ความรู้แก่ประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบในเรื่องนี้

สำหรับหน้าที่สื่อมวลชน โดยเฉพาะกรณีการตามบุคคลสำคัญ บุคคลสาธาณะเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยก็ต้องคำนึงว่ารูปควรนำไปใช้แค่ไหน เพราะเป็นการมาสื่อสารหน้าที่ของผู้นำ ไม่ใช่สื่อสารความลับของผู้ป่วย ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ควรเข้าไปในห้องผู้ป่วย เรื่องนี้ควรมีการทำความเข้าใจและสร้างระบบให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ แล้วโรงพยาบาลก็มีกฎห้ามถ่ายรูปอยู่แล้ว แต่กรณีมากับบุคคลสำคัญอาจจะห้ามไม่ทัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในเขตโรงพยาบาลทำไมต้องห้ามถ่ายภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจึงไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปผู้ป่วยหรืออาคารสถานที่ในโรงพยาบาล ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลนั้นๆก่อน และผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจแทนผู้ป่วยจะยินยอมเท่านั้น

ที่มา:

โรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981015731943165.1073741847.311434945567917] หน่วยงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการ ในเรื่องโรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด มีรายละเอียดดังนี้

โรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด

  1. โรคหัวใจ เพราะอาจทำให้ช๊อคได้
  2. มะเร็ง เพราะจำให้เชื้อมะเร็งแพร่กระจายตามกระแสเลือด
  3. เบาหวาน (ระดับน้ำตาลในโลหิต 180 ขึ้นไป) เพราะจำทำให้กล้ามเนื้อช้ำและหายยาก
  4. ความดันโลหิตสูง 160 ขึ้นไป ไม่ควรนวด เพราะจำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้
  5. โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวด

  1. เส้นเลือดคอด้านหน้า เพราะทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองตายได้
  2. ทัดดอกไม้เหนือใบหู เพราะเป็นจุดบอบบางของกระโหลกศีรษะจะแตกหักง่าย
  3. ไหปลาร้า เพราะอาจจะแตกหักหรือหลุดได้ง่าย
  4. ใต้รักแร้ เพราะเป็นจุดส่วนรวมเส้นประสาทและต่อมน้ำเหลืองจะทำให้อักเสบได้
  5. มุมหัวไหล่ เพราะจะหลุดง่าย
  6. ข้อพับสอก เพราะจำทำให้อักเสบและหลุดได้ง่าย
  7. หัวเข่า เพราะจำทำให้อักเสบและหลุดได้ง่าย
  8. มีไข้ตัวร้อน อุณหภูมิ 38 องศาขึ้นไป
  9. อาการอักเสบบวมแดง เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น
  10. กระดูกแตกหัก
  11. แผลผ่าตัด เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและอักเสบขึ้นมาได้
  12. ภายหลังบาดเจ็บภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีการช้ำและยังอักเสบ
  13. แผลเปิดและแผลเรื้อรัง อาจจะทำให้ติดเชื้อและเป็นมากกว่าเดิม
  14. เปิดประตูลมไม่เกิน 45 นาที ถ้าเกิดเส้นเลือดจะแตกและเป็นอัมพาตได้
  15. ควรรับประทานอาหารมาก่อนทำการนวดอย่างน้อย 30 นาที
  16. ไม่ควรทานยาแก้ปวดมาก่อนทำการนวด เพราะจำให้กล้ามเนื้อชานวดแล้วไม่ได้ผล
  17. บริเวณที่เกิดสีดำเพราะเนื้อเยื่อตาย จากเส้นเลือดอุดตัน เพราะการนวดอาจทำให้ก้อนเลือดจากเส้นเลือดดำเคลื่อนไปอุดหลอดเลือดในปอดหรือสมองได้
  18. ภาวะเลือดออก
  19. น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ พุพอง
  20. ฝี เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น

โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบของบริจาคจาก “คณะร่วมสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วย”

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 โรงพยาบาลโพธิ์ไทรรับมอบของบริจาคจาก “คณะร่วมสนับสนุนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วย” โดยสิ่งของที่รับบริจาคประกอบด้วย พัดลมติดผนัง เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็นและเงิน

ทั้งนี้ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรจึงขอขอบคุณในความอนุเคราะห์ของท่านเป็นอย่างยิ่งและหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านอีกในโอกาสต่อไป

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981016355276436.1073741848.311434945567917]