All posts by ประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

stroke_info-01

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
    • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
    • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
    • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
    • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
    • ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
    • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
    • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
    • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
    • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
    • การขาดการออกกำลังกาย

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

stroke_info-02

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เอกสารเผยแพร่

Download “Stroke-present.zip”

Stroke-present.zip – Downloaded 734 times – 747.12 KB

สื่อประชาสัมพันธ์

https://www.youtube.com/watch?v=RwGc7-R1v0Q

 

การให้ความรู้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง (ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง)

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 ทีผ่านมา โรงพยาบาลโพธิ์ไทรได้จัดการให้ความรู้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง (ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง) โดยทีมผู้ดูแลคลินิคโรคหลอดเลือดในสมอง
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1062070500504354.1073741893.311434945567917]

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) ประกาศ โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559) ปีงบประมาณ 2559

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศ คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)

Download “โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)”

43file_18022016_1621_final.pdf – Downloaded 1679 times – 5.24 MB

Download “หนังสือจัดส่งคู่มือโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)”

Letters43file%2011022016.pdf – Downloaded 837 times – 126.96 KB

ที่มา : ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC)

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ณ บ้านผาชัน หมู่ที่ 7 ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป ณ บ้านผาชัน หมู่ที่ 7 ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการให้บริการ

  • ตรวจรักษาโรคทั่วไป
  • ให้บริการทันตกรรม (ตรวจฟัน ถอนฟัน)
  • ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ
  • มีบริการนวด ประคบ และจ่ายยาสมุนไพรของบริการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่

โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลโพธิ์ไทรและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร

ภาพบรรยากาศหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว.
ขอบคุณภาพจากคุณจันทร์เพ็ญ ศุภโกศล
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1058916494153088.1073741892.311434945567917]

การประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอโพธิ์ไทร ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 อำเภอโพธิ์ไทรได้จัดการประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอโพธิ์ไทร ครั้งที่ 2/2559 ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ไทร โรงพยาบาลโพธิ์ไทร
[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1050802801631124.1073741889.311434945567917]

กิจกรรมการดูแลผู้ป่วย Palliative care ระยะสุดท้าย โดยทีม Palliative care อำเภอโพธิ์ไทร

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ทีม Palliative care อำเภอโพธิ์ไทร ได้จัดการดูแลผู้ป่วย Palliative care ระยะสุดท้ายในเขตตำบลสองคอน 1 คน โดยผู้ป่วยมีความประสงค์ต้องการทำบุญที่วัดใกล้บ้านและเข้าไหว้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากแซง

ภาพบรรยากาศ/กิจกรรม

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1044218398956231.1073741886.311434945567917]

ประกาศขอให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่านเข้ากรอกข้อมูลโปรแกรมความผาสุก ปี 2559

ขอให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่านเข้ากรอกข้อมูลโปรแกรมความผาสุก ปี 2559 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อประเมินความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร โดยมีขั้นตอนการใช้งานดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์แบบประเมินความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร
  2. เริ่มการบันทึกข้อมูลโดยคลิกเมนู “บันทึกข้อมูล
    HRD-Step1
  3. กรอกเลขประจำตัวประชาชนของตนเองในช่อง “รหัสบัตรประชาชน” และคลิกปุ่มตรวจสอบ
    HRD_Step2
  4. เมื่อพบข้อมูลให้เริ่มทำการบันทึกโดยกดปุ่ม “เริ่มบันทึกข้อมูล
    HRD_Step3
  5. เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นให้เลื่อนไปด้านล่างสุดของแบบกรอกข้อมูล กดปุ่ม “บันทึกข้อมูล” เป็นอันเสร็จสิ้น
    HRD_Step4

หมายเหตุ

  • หากมีข้อสงสัยการใช้งาน กรุณาติดต่อคุณณัฐสรวง และ คุณเกียรติศักดา งานธุรการ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

 

แนวทางการวินิฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ปี 2558

แนวทางการวินิฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ปี 2558 โดยเอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสถานบริการต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ได้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ หลังจากมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ที่มีผลสืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยาและแนวทางการใช้ยารักษามาลาเรียของประเทศ ในปีงบประมาณ 2558

ดาวน์โหลดเอกสาร

แนวทางการักษา-ไข้มาลาเรียประเทศไทย-2558 (19880 downloads )

รณรงค์ ๗ วันอันตรายช่วงเทศกาลปีใหม่ “สุขกาย สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย รับปีใหม่ ๒๕๕๙”

การรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๙ ใช้ชื่อว่า “สุขกาย สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย รับปีใหม่ ๒๕๕๙” เพื่อสร้างความตระหนัก รับรู้ และกระตุ้นเตือนจิตสำนึกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๙

อุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๙ หมายถึง อุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน ในช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๙ ในช่วงเวลา ๐๐.๐๑ น. ของวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ถึง เวลา ๒๔.๐๐ น. ของวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และ/หรือบาดเจ็บนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เป้าหมายการดำเนินการ

  1. เพื่อให้ประชาชนเดินทางสัญจรอย่างปลอดภัยและมีความสุขในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๕๙
  2. สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนน จำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้บาดเจ็บ (admit) ลดลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยให้จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานด้วยตนเอง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ประกาศ ขอเชิญเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่านร่วมงานเลี้ยงปีใหม่ ประจำปี 2559

ประกาศ ขอเชิญเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรทุกท่านร่วมงานเลี้ยงปีใหม่ ประจำปี 2559 ในวันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณด้านหน้าแฟลตพยาบาล

รูปแบบการจัดงาน

  • การแต่งกายของผู้ร่วมงานให้แต่งกาย “ธีมชุดนักเรียน
  • ให้แต่ละฝ่ายส่งตัวแทนเข้าประกวดการแต่งกายยอดเยี่ยม ชิงรางวัล จำนวน 3 รางวัล
    • รางวัลที่ 1 เงินสดจำนวน 1,000 บาท
    • รางวัลที่ 2 เงินสดจำนวน 700 บาท
    • รางวัลที่ 3 เงินสดจำนวน 500 บาท
  • ให้แต่ละท่านเตรียมของขวัญแลกเปลี่ยน มูลค่าตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป
  • ให้หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานทุกท่าน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ได้เตรียมของขวัญมาร่วมจับสลากกับของขวัญกลางด้วย
  • ให้แต่ละฝ่ายจัดตัวแทนอย่างน้อย 1 คน ขึ้นมาร้องเพลงคาราโอเกะ ในช่วงก่อนถึงเวลาเปิดงาน
  • รูปแบบอาหารในงานเลี้ยง จัดเป็นซุ้มอาหาร อาทิ ซุ้มขนมจีน ส้มตำลูกชิ้นทอด-นึ่ง ต้มยำทะเล ย่างหมู เครื่องดื่มต่าง ๆ