







สถานการณ์ COVID-19 ยังคงระบาดอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งได้มีข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวต่างๆ ออกมามากมาย หลายคนเมื่อได้รับข่าวสารอาจจะเกิดความวิตกกังวลสะสมเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีคำแนะนำสำหรับการดูแลสุขภาพจิตให้กับทุกๆ คนเพื่อรับมือความวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อ COVID-19
โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เริ่มระบาดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย กรมอนามัย แนะนำประชาชนยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สร้างสุขอนามัยที่ดีเป็นเกราะป้องกันการแพร่ระบาด
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่พบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส แบคคทีเรีย และสันนิษฐานว่าทำให้เกิดอาการอักเสบของถุงลม ปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ และเป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัสฝอยละอองที่ผู้ป่วยไอ จาม เมื่อมือสัมผัสอาจผ่านเข้าสู่ร่างกายได้
ประชาชนจึงควรดูแลสุขอนามัยของตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น โดยให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ในกรณีข้าวกล่อง อาหารถุง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนทุกครั้ง ใช้ช้อนกลางในการตักอาหารเมื่อกินอาหารร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอื่นๆ ร่วมกัน
ที่สำคัญล้างมือก่อนและหลังกินอาหาร รวมถึงหลังการใช้ส้วมด้วย เพราะในชีวิตประจำวันคนเราใช้มือหยิบจับสิ่งต่างๆ อีกทั้งมือยังสามารถนำเชื้อโรคไปปนเปื้อนสิ่งของรอบตัว ซึ่งผู้อื่นอาจได้รับเชื้อโรคไปด้วย การล้างมือจึงเป็นวิธีที่ง่ายและสำคัญเพื่อป้องกันโรค
ทั้งนี้ การล้างมืออย่างถูกวิธีให้ปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอนง่ายๆ
หากเดินทางในต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในตลาดค้าสัตว์มีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วยหรือตาย รวมทั้งงดกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเป็นเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
ที่สำคัญควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากพบมีไข้ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบพบแพทย์ทันที
จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา พบว่า แม้ภาพรวมสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 โดยรวมลดลง แต่หากจำแนกตามกลุ่มอายุจะพบว่าในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี มีอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ทั้งเอชไอวี ซิฟิลิส และโรคหนองใน
ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีมาตรฐาน และข้อกำหนดตาม มอก. 625-2559 หรือ ISO 4074 : 2015 ทั้งนี้ถุงยางอนามัยต้องมีใบอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกรุ่นก่อนวางจำหน่ายในท้องตลาด และหากเป็นถุงยางอนามัยที่มีกรรมวิธีการผลิตใหม่ต้องมีการทดสอบคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากพบว่าถุงยางอนามัยรุ่นใดไม่เข้ามาตรฐาน ผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะไม่สามารถวางจำหน่ายได้
ประชาชนควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีเลขใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ซึ่งรับรองจาก อย. ไม่ควรซื้อถุงยางอนามัยมาเก็บไว้นานๆ และควรสังเกตดูวันหมดอายุก่อนซื้อ ควรเก็บถุงยางอนามัย ในที่แห้ง เย็น ไม่ถูกแสงแดดหรือแสงฟลูออเรสเซนต์ ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในช่องเก็บของรถยนต์ซึ่งมีอุณหภูมิสูง ในตอนกลางวัน กระเป๋าใส่ธนบัตร หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะการกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยมีรอยรั่วหรือฉีกขาดได้ นอกจากนี้ควรเลือกใช้สารหล่อลื่นที่ละลายในน้ำหรือซิลิโคนออยล์ (silicone oil) เช่น เค-วาย เจลลี่ , คิว-ซี เจลลี่,ดูราเจลหรือกลีเซอรีน ไม่ควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชหรือน้ำมันแร่ เช่น เบบี้ออยล์, น้ำมันทาผิว,ปิโตรเลียม เจลลี (petroleum jelly), น้ำมันปรุงอาหาร และน้ำมันชนิดอื่นๆ เนื่องจากจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมสภาพแตกขาดง่าย ทำให้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดได้
ประโยชน์ของถุงยางอนามัยมีดังนี้
ข้อควรรู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย
ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์ 045-496000 หรือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง
ปัจจุบันนี้มีการใช้โน้ตบุ๊กกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวกสบายที่โน้ตบุ๊กเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำพาไปได้เกือบทุกที่ อีกทั้งประสิทธิภาพของโน้ตบุ๊กก็ไม่ด้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และเทคโนโลยียุคปัจจุบันยิ่งสนับสนุนให้มีการใช้โน้ตบุ๊กมากขึ้น
วิธีแก้ไขให้โน้ตบุ๊กให้ได้ท่าทางการทำงานที่ถูก
จากการที่โน้ตบุ๊กเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระยะสั้นๆ แต่หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้โน้ตบุ๊กเป็นระยะเวลานานๆ หรือใช้แทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสามารถทำได้ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่าโน้ตบุ๊กเหมาะสำหรับการใช้ชั่วคราว ใช้เมื่อทำงานนอกสถานที่หรือเปลี่ยนที่ทำงานบ่อย ดังนั้น ไม่ควรใช้โน้ตบุ๊กต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
ที่มา : สสส.
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคเป็นปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าปัญหาที่สำคัญสามประเด็นของวัณโรคคือ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่มีจำนวนมากและมีแนวโน้มจำนวนลดลงช้ากว่าที่จะทำให้สามารถควบคุมวัณโรคได้ในระยะเวลาอันใกล้ ประเด็นถัดมาคือวัณโรคในผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ที่ทำให้การดูแลรักษายากลำบากมากขึ้น และประเด็นสุดท้ายคือวัณโรคดื้อยาหลายขนาดที่จำนวนผู้ป่วยมากขึ้นและการรักษาด้วยระบบยาแนวที่สองมีผลสำเร็จที่ต่ำอีกทั้งมีราคาสูง องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรครุนแรงทั้งสามด้าน
ด้วยแนวโน้มของการดูแลรักษาวัณโรคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาในการวินิจฉัยวัณโรคและการดื้อยาของเชื้อวัณโรค รวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่ใช้ยารักษาตัวใหม่และสูตรยาใหม่เพื่อเพิ่มอัตราการหายและลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรคตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ กรมการแพทย์จึงได้จัดทำคำแนะนำในการดูแลรักษาวัณโรคขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย และหวังว่าคำแนะนำนี้จะทำให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและหายใจวัณโรค ส่งผลให้การควบคุมวัณโรคประสบความสำเร็จจนไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขต่อไป
แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 2561 สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
ที่มา : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสุขภาพ มีประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค แต่ทั้งนี้การส่งเสริมการตรวจสุขภาพที่เกินจำเป็นและไม่สมเหตุผล ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม และในขณะเดียวกันประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจหรือเข้าไม่ถึงบริการ รวมทั้งการจัดการให้บริการมีความแตกต่างกัน
การจัดทำแนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน มีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ร่วมกับองค์กรสภาวิชาชีพด้านสุขภาพสถาบันวิชาการ หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมดำเนินการจัดทำด้วยกระบวนการทางวิชาการ อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความเป็นปัจจุบัน ผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและปรับแก้เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางที่เหมาะสมตามบริบทของประเทศไทย
โดยในเว็บ Health Checkup จัดทำขึ้นโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีบริการ
ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่
Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” on2jzU – Downloaded 706 times –
Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์” Y5W2tZ – Downloaded 196 times –
Download “ชุดความรู้การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน” a8te2a – Downloaded 273 times –
ที่มา : Health Checkup (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
หรือสนใจติดต่อสอบถามการตรวจสุขภาพได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (045-496000, 045-496058)
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จัดโครงการ “ความอายคือสารก่อมะเร็ง” สร้างความเข้าใจ เชิญชวนผู้หญิงไทยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นให้หญิงไทยก้าวข้ามความอาย เข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อสร้างเกราะป้องกันมะเร็งปากมดลูก
“มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบัน ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คิดว่าอายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง หรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่น่าจะเกิดโรคร้ายนี้ได้ จึงไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งและฉีดวัคซีนป้องกัน ไม่เพียงเท่านั้น งานวิจัยยังพบว่าผู้หญิงไทยหลายคนแม้จะรู้ถึงอันตรายของมะเร็งปากมดลูก แต่ก็ไม่กล้าไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก ‘ความอาย’”
ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่าย รวดเร็ว และไม่เจ็บ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลที่ล้วนผ่านการอบรมมาแล้ว ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อป้องกันคนไข้จากมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น หากรู้สึกอายที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองจากเจ้าหน้าที่โรงพยายาล เราอยากให้ผู้หญิงทุกคนพยายามเอาชนะความอายและระลึกไว้ว่า หากเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วจะได้รับความทุกข์ทรมานกว่านี้มาก และอาจเสียชีวิตจากโรคนี้ได้
สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV และมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมได้ที่
“Depression Let’s Talk : ซึมเศร้า…เราคุยกันได้” ใครๆก็รู้โรคซึมเศร้ารักษาได้
เริ่มทำแบบประเมิน