Category Archives: นโยบายกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขประกาศอัตราค่าบริการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดอัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ พ.ศ.2547 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุจที่มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเป็นจำนวนมากในการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการปรับปรุงอัตราค่าบริการของหน่วยบริการ และได้ดำเนินการปรับปรุงอัตราค่าบริการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560 เสร็จสิ้นแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้ว เพื่อให้หน่วยบริการทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเรียกเก็บอัตราค่าบริการจากผู้มารับบริการที่เหมาะสม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงขอยกเลิกอัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2547 และขอให้หน่วยบริการทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ถือปฏิบัติตามแนวทางอัตราค่าบริการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560

Download “อัตราค่าบริการของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560”

force_down.php – Downloaded 1018 times – 92.77 MB

ที่มา : สำนักบริหารการสาธารณสุข

คู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่างชาติ 5 ภาษา “อังกฤษ-จีน-ญี่ปุ่น-พม่า-มาลายู”

สพฉ. จัดทำคู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่างชาติ 5 ภาษา “อังกฤษ –จีน-ญี่ปุ่น-พม่า-มาลายู” รับ เปิด AEC แก้ปัญหา สื่อสาร ณ จุดเกิดเหตุ หวัง ประสานศูนย์สั่งการ เตรียมรับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

Download “คู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่างชาติ 5 ภาษา “อังกฤษ –จีน-ญี่ปุ่น-พม่า-มาลายู””

DownloadFile.aspx – Downloaded 2470 times – 10.46 MB

 

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP)

วันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานประกันสังคม(สปส.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สมาคมโรงพยาบาลเอกชน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ได้ร่วมแถลงข่าว“นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต”

  1. UCEP คืออะไร UCEP คือ นโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญา 3 กองทุน(กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) และในอนาคตจะขยายไปยังกองทุนต่างๆ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตอันจะทําให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับ การคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการ อย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต
  2. ใครบ้างที่ใช้สิทธินี้ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้อง เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่ที่อยู่ใกล้และเป็นโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ โดยเริ่มที่สามกองทุนก่อน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ,กองทุนประกันสังคม,กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
  3. เจ็บป่วยฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะใช้สิทธิUCEP ได้ ผู้ที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ กพฉ.ประกาศกำหนด และ รายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ สพฉ. กำหนดกรณีกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
  4. ขั้นตอนในการใช่สิทธิ์ UCEP เป็นอย่างไร ประชาชนทุกคนควรตรวจสอบสิทธิพื้นฐานการรักษาพยาบาลของตนเองในเบื้องต้นว่าเป็นสิทธิอะไร เช่น สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หรือหากไม่ทราบ ให้ทำการขอตรวจสอบสิทธิ ณ รพ.ทุกแห่ง หรือ สำนักงานเขตภายในกรุงเทพมหานคร กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้ และเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิให้แจ้ง รพ.ให้รับทราบว่าขอใช้สิทธิUCEP โรงพยาบาลดำเนินการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางทีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษา ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง. หมายเลข 02-8721669 เมื่อโรงพยาบาลดำเนินการประเมินผู้ป่วยแล้ว จะแจ้งผลการประเมินให้กับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยรับทราบผลการประเมิน หากผลการประเมินเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต กรณีผลการประเมินไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หากต้องการรักษาที่โรงพยาบาลเดิม ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง
  5. ในกรณีที่มีข้อถกเถียงเรื่องอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่าเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่นั้นจะดำเนินการอย่างไร ในกรณีนี้ โรงพยาบาลเป็นผู้คัดแยกผู้ป่วยตามแนวทางทีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด(Preauthorization)ในกรณีมีปัญหาในการคัดแยกให้ปรึกษา ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  6. รูปแบบการทำงานของ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) ทำงานอย่างไร ประชาชนสามารถแจ้งเรื่องผ่านได้ทางไหน ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(ศคส.สพฉ.) มีการดำเนินงานดังนี้ ดำเนินการตรวจสอบประเมินความถูกต้องเหมาะสมในการPreauthorization และการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลเอกชนเมื่อมีผู้ป่วยเข้าระบบ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย ติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนพ้นภาวะวิกฤตจนสามารถย้ายไปโรงพยาบาลคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ระบบคัดแยกความเจ็บป่วยฉุกเฉิน (Preauthorization)โดยสามารถ ติดต่อได้ที่ 02 872 1669
  7. หากมีข้อโต้แย้งเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะใช้เวลานานหรือไม่ในการพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา กรณีที่มีปัญหาการตัดสินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต. แพทย์ประจำศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( ศคส.สพฉ.) ร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย จะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที โดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
  8. เมื่อรักษาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว กระบวนการขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาลจะดำเนินการอย่างไร ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) รับทราบว่ามีผู้ป่วยวิกฤตเข้าระบบ เมื่อโรงพยาบาลเอกชนมีการประเมินและบันทึกการประเมินผู้ป่วยในระบบโปรแกรม Preauthorization และ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งต่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิทราบโดยเร็ว เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิดำเนินการประสานไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วย เพื่อเตรียมการรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน เมื่อครบ 72 ชั่วโมงแล้วหรือพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
  9. หากประสานไปยังโรงพยาบาลต้นทางที่ผู้ป่วยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลอยู่แล้วรพ.แจ้งว่าไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย จะมีการดำเนินการเช่นไร และหากมีค่าใช้จ่ายใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนั้น ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) จะแจ้งไปยังกองทุนต่างๆเพื่อให้ดำเนินการตามเงื่อนไขของแต่ละกองทุน

ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
6 กลุ่มผู้ป่วยวิกฤต รักษาฟรีทุกที่ 72 ชม. | 02-04-60 | ชัดทันข่าว เสาร์-อาทิตย์ : ไทยรัฐทีวี

 

รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560

กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามนโยบายรัฐบาลที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 เพื่อรองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในปี 2573 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด รวมทั้งการเข้าสู่การเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสุขภาพ ซึ่งในการดำเนินงานได้กำหนดแผนเป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 การปฏิรูประบบสุขภาพ
  • ระยะที่ 2 เป็นการสร้างความเข้มแข็ง
  • ระยะที่ 3 ดำเนินการให้เกิดความยั่งยืน
  • ระยะที่ 4 ประเทศไทยจะเป็น ผู้นำด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1 ใน 3 ของเอเชีย

เมื่อสิ้นแผนในปี 2579 โดยแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมาย คือ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ

  1. การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (P&P Excellence)
  2. ระบบบริการ (Service Excellence)
  3. การพัฒนาคน (People Excellence)
  4. ระบบบริหารจัดการ (Governance Excellence)

ในการนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน” หน่วยงานต่างๆจึงได้ร่วมกันจัดทำแผน และรายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปีภายใต้กรอบ 16 แผนงาน 48 โครงการ และ 96 ตัวชี้วัด เพื่อการกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Download “รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560 (ไฟล์ PDF)”

PDF.zip – Downloaded 4553 times – 9.10 MB

Download “รายละเอียดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 20 ปี กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูล ณ วันที่ 8 มี.ค. 2560 (ไฟล์ Word Excel)”

WORD_EXCEL.zip – Downloaded 2099 times – 2.65 MB

คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข Version 2.2 (กันยายน 2559) ปีงบประมาณ 2560

คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข Version 2.2 (กันยายน 2559) ปีงบประมาณ 2560 โดยเอกสารสำหรับดาวน์โหลดมีดังนี้

  • หนังสือจัดส่งคู่มือโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ (43แฟ้ม) Version 2.2
  • คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและการจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ (43แฟ้ม) Version 2.2
  • รายการรหัสมาตรฐานอ้างอิงใน 43 แฟ้ม

Download “หนังสือจัดส่งคู่มือโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ (43แฟ้ม)”

43flie2.2_letter_6Dec16.pdf – Downloaded 1223 times – 281.01 KB

Download “คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและการจัดส่งข้อมูลตาม โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ (43แฟ้ม) Version 2.2”

43flie2.2_6Dec16.pdf – Downloaded 1282 times – 2.73 MB

Download “รายการรหัสมาตรฐานอ้างอิงใน 43 แฟ้ม”

StandardCode43_(v2.2)_6Dec16.rar – Downloaded 1160 times – 10.33 MB

ที่มา : ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข  (http://www.thcc.or.th/)

[ดาวน์โหลด] คู่มือจากศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ปี 2559

คู่มือจากศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ
1. มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล ปี 2559
2. มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย ปี 2559
3. มาตรฐานการส่งออกข้อมูลตามแฟ้มมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ปี 2559
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำสถิติสถานพยาบาล ปี 2559

มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล พ.ศ. 2559 (4922 downloads ) มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย พ.ศ. 2559 (940 downloads ) มาตรฐานการส่งออกข้อมูลตามแฟ้มมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2559 (969 downloads ) การวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำสถิติสถานพยาบาล พ.ศ. 2559 (937 downloads )

ที่มา:
ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เครื่องสำอาง 34ยี่ห้อ ห้าม ผลิต-นำเข้า-ขาย มีผลบังคับใช้ 29 มีนาคม 2559

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม มีราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศตอนพิเศษ 72 ง เกี่ยวกับ ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดชื่อเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. 2558 ลงนามในประกาศโดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการเครื่องสําอาง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้เครื่องสําอางที่มีชื่อดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องสําอางที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือขาย ประกอบด้วย

  1. BEANNE บีแอน ครีมไข่มุกตราแตร
  2. แอนตี้-ฟาร์ ครีม
  3. แอนตี้-ฟาร์ โลชั่นกันฝ้า ปรับผิว
  4. ROSE ครีมขจัดฝ้า
  5. FAR-ACT ครีมรักษาฝ้า
  6. CN คลินิก 99
  7. ครีมฝ้าเมลาแคร์
  8. โลชั่นกันแดด กันฝ้า เมลาแคร์
  9. ครีมวินเซิร์ฟ
  10. โลชั่นวินเซิร์ฟ ลดฝ้ากันแดด
  11. MUI LEE HIANG PEARL CREAM
  12. เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว
  13. เลนาว ครีมบํารุงผิวหน้ากลางคืน
  14. NEW CARE นิวแคร์ ครีมประทินผิว
  15. NEW CARE นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว
  16. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอยหมองคล้ำ
  17. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  18. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ครีมทาสิว
  19. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล โลชั่นป้องกันแสงแดด
  20. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอย
  21. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด
  22. มิสเดย์ ครีมแก้สิว
  23. มิสเดย์ ครีมแก้ฝ้า
  24. พอลล่า ครีมทาสิว
  25. พอลล่า ครีมทาฝ้า
  26. พอลล่า โลชั่นกันแดดรักษาฝ้า
  27. ครีมชาเขียว DR. JAPAN
  28. ครีมชาเขียว MISS JAPAN
  29. ชิชาเดะ ครีมหน้าขาว โสมผสมไข่มุกญี่ปุ่น
  30. ครีมบัวหิมะ หลิง หลิง
  31. ครีม QIAN MEI
  32. ครีม QIAN LI
  33. ครีม CAI NI YA
  34. ครีม JIAO LING

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคบตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หรือผู้ใดขายเครื่องสำอางดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

Thai_Government_Gazette_21

Download “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ. 2559”

21.PDF – Downloaded 1223 times – 29.33 KB

ที่มา:

มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2558

มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ปรับปรุง มกราคม 2558)

Download “มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2558”

740_b3f52b3d3fe34c14d36e62f310f66da9 – Downloaded 1817 times – 3.34 MB

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) ประกาศ โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559) ปีงบประมาณ 2559

ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขประกาศ คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)

Download “โครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)”

43file_18022016_1621_final.pdf – Downloaded 1651 times – 5.24 MB

Download “หนังสือจัดส่งคู่มือโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559)”

Letters43file%2011022016.pdf – Downloaded 800 times – 126.96 KB

ที่มา : ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ (THCC)

ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ. ศ. 2559

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ได้จัดทำเอกสารยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ. ศ. 2559 เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ที่เน้นหนักให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานทุกระดับ และนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายหลักสำคัญ คือ “ประชาชนไทยทุกคนมีสุขภาพดี”

Download “ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559”

mophplan_2559_final.pdf – Downloaded 745 times – 4.49 MB

Download “รายละเอียดตัวชี้วัดปี 2559 (Template)”

template_kpi_59_version_20151111.pdf – Downloaded 568 times – 950.89 KB