Category Archives: เรื่องเด่นสุขภาพ

โครงการความอาย คือ สารก่อมะเร็ง

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จัดโครงการ “ความอายคือสารก่อมะเร็ง” สร้างความเข้าใจ เชิญชวนผู้หญิงไทยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นให้หญิงไทยก้าวข้ามความอาย เข้ารับการตรวจคัดกรองเพื่อสร้างเกราะป้องกันมะเร็งปากมดลูก

“มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ปัจจุบัน ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คิดว่าอายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง หรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่น่าจะเกิดโรคร้ายนี้ได้ จึงไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งและฉีดวัคซีนป้องกัน ไม่เพียงเท่านั้น งานวิจัยยังพบว่าผู้หญิงไทยหลายคนแม้จะรู้ถึงอันตรายของมะเร็งปากมดลูก แต่ก็ไม่กล้าไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสาเหตุสำคัญเนื่องมาจาก ‘ความอาย’”

ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่าย รวดเร็ว และไม่เจ็บ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลที่ล้วนผ่านการอบรมมาแล้ว ทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อป้องกันคนไข้จากมะเร็งปากมดลูก ดังนั้น หากรู้สึกอายที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองจากเจ้าหน้าที่โรงพยายาล เราอยากให้ผู้หญิงทุกคนพยายามเอาชนะความอายและระลึกไว้ว่า หากเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วจะได้รับความทุกข์ทรมานกว่านี้มาก และอาจเสียชีวิตจากโรคนี้ได้

สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV และมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมได้ที่

“Depression Let’s Talk : ซึมเศร้า…เราคุยกันได้” ใครๆก็รู้โรคซึมเศร้ารักษาได้

“Depression Let’s Talk : ซึมเศร้า…เราคุยกันได้” ใครๆก็รู้โรคซึมเศร้ารักษาได้

เริ่มทำแบบประเมิน

 

8 วิธีดูแลสุขภาพ เมื่อลมหนาวพัดผ่าน

ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายหากร่างกายปรับตัวไม่ทัน จึงขอเตือนประชาชนให้ป้องกันตนเองจาก 6 โรคที่พบบ่อยในฤดูหนาวทุกปี ได้แก่ ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด โรคสุกใส มือเท้าปาก อุจจาระร่วงในเด็กเล็ก พร้อมย้ำเตือนนักดื่ม ไม่ควรดื่มสุราเพื่อแก้หนาว อาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ประชาชนควรป้องกันตนเองจาก 6 โรคที่พบบ่อยในฤดูหนาวทุกปี ได้แก่

  1. โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ติดต่อกันโดยน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่ไอ จามรดกัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีน้ำมูก คัดจมูก ปวดศีรษะ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
  2. โรคปอดบวม มักเกิดตามหลังโรคหวัด 2-3 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หากเป็นรุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
  3. หัด พบในเด็กอายุ 1-6 ปี ติดต่อกันโดยการไอ จาม รดกัน ผื่นจะขึ้นประมาณวันที่ 4 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ ไข้จะลดลงเมื่อผื่นกระจายไปทั่วตัว และหายไปใน 14 วัน
  4. โรคสุกใส ติดต่อกันโดยการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วย หรือสัมผัสน้ำเหลืองจากตุ่มพองใสที่ผิวหนังของผู้ป่วย มักเกิดในเด็ก ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ ใบหน้า ตามตัวเป็นผื่นแดง นูน จากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แห้งตกสะเก็ด และร่วงภายใน 5-20 วัน
  5. โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปาก จากมือ หรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม แล้วจะเกิดตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก ๆ (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า ก้น ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส และแตกออกเป็นแผล
  6. โรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ติดต่อกันโดยการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง แต่เด็กบางคน อาจขาดน้ำรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
จึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง หมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และปฏิบัติ ดังนี้
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นไม่กระทบอากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะขามป้อม ฝรั่ง มะขาม มะละกอสุก ส้มโอ พุทรา เป็นต้น ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ
  • รักษาความสะอาดของร่างกาย เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆโดยเฉพาะก่อนหยิบจับอาหารเข้าปาก ก่อน-หลัง เข้าห้องน้ำห้องส้วม
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วันๆ ละ 30 นาที
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว จาน เป็นต้น
  • ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือถ้าจำเป็นต้องใส่ผ้าปิดปาก-ปิดจมูก เสมอ ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสผู้ป่วย
  • หมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายของตนเองและบุคคลในครอบครัว หากไม่สบาย มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ อาจมีน้ำมูก น้ำตาไหล โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว มักมีอาการรุนแรง สังเกตได้จากหอบ หายใจลำบาก หรื ถ้ามีไข้สูงเกิน 2 วัน ต้องรีบไปรับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขทันที

ที่มา
กรมอนามัย

รวมพลังพิฆาตยุงลายด้วย ด้วยมาตรการ 3ก + 5ส

กระทรวงสาธารณสุขจัดโครงการรณรงค์กำจัดยุงลาย เพื่อคนไทยปลอดจาก 3 โรคร้าย คือโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุนกุนยา) และโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัด ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมออนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ตัดวงจรชีวิตยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ “เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ” และ 5 ส. ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้กำหนดให้ทุกวันศุกร์ในหน่วยงานและที่บ้านมีการดำเนินมาตรการดังกล่าว

pho-3k5scamp

เตือนระวังเห็ดพิษ พร้อมวิธีสังเกต

เข้าสู่ช่วงต้นฤดูฝนสิ่งที่มากับช่วงนี้คือ ผักป่า เห็ด แมลงชนิดต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาวางจำหน่าย ล่าสุด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร เตือนประชาชน อย่านำเห็ดที่ไม่รู้จักดี หรือ มีลักษณะผิดจากปกติ มารับประทาน เพราะพิษจากเห็ดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อรางกายถึงแก่ชีวิตได้

วิธีการสังเกตว่าเห็ดชนิดใดเป็นเห็ดพิษ เริ่มจาก เห็ดไข่ ถ้าเป็นเห็ดพิษภายนอกจะมีลักษณะผิวแตกเป็นตา ก้านตัน ผิวด้านขาว ไม่มีริ้ว ส่วนเห็ดที่รับประทานได้จะมีผิวเรียบ ก้านโปร่ง ผิวมันเหลืองนวลและมีริ้ว

MushroomPois-02ธรรมชาติของเห็ดพิษสังเกตง่ายๆ คือดอกเห็ดจะมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของเชื้อ มักจะมีสีสันที่ฉูดฉาด เช่น สีส้ม สีเหลือง สีเทา สีขาว เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วอาจจะเกิดอาการขึ้นทันทีหลังจากรับประทาน หรืออาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน บางชนิดพิษของเห็ดออกฤทธิ์ช้าได้ถึง 14 วัน ความรุนแรงของอาการแล้วแต่ชนิดของเห็ดพิษ และปริมาณ ที่รับประทานเข้าไป มีอาการเริ่มแรกคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว บางรายอาจมึนงง เจ็บหน้าอก หน้าแดง ง่วงซึม ปากชา น้ำลายไหล ใจสั่นเป็นตะคริว อ่อนเพลีย ถ้าพบอาการดังกล่าว ให้รีบไปรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทันที

เห็ดพิษที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ส่วนใหญ่ เป็นเห็ดกลุ่มเห็ดระโงก เห็ดระโงกมีหลายสี หลายชนิด เช่น เห็ดระโงกหินหรือเห็ดไข่ตายซาก หมวกเห็ดเป็นรูปวงกลม ขอบไม่มีริ้ว ผิวด้านในของ เยื่อหุ้มรูปถ้วยแนบกับโคนก้าน เมื่อบานออกมาเป็นรูปกระทะคว่ำ เห็ดระโงกหินหรือเห็ดไข่เป็ด หมวกเห็ดเป็นรูปกระทะคว่ำสีขาว ลักษณะคล้ายเห็ดตายซาก แตกต่างกันที่มีขนรุงรังก้านดอก เห็ดระโงกตีนเปาพิษร้ายแรงมาก เมื่อดอกยังตูมจะแยกไม่ออกว่าเป็นเห็ดระโงกมีพิษหรือไม่  เพราะเหมือนกับเห็ดระโงกที่รับประทานได้

ส่วนอาการผู้ที่ได้รับประทานเห็ดพิษ เริ่มแรกจะมึนศีรษะ ใจสั่น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เจ็บหน้าอก ตัวชา และสิ่งที่ต้องรีบปฏิบัติ คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้มากที่สุด และ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 2 ชั่วโมง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

ตารางเปรียบเทียบลักษณะเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้

เห็ดพิษ
เห็ดรับประทานได้
1. ส่วนใหญ่เจริญงอกงามในป่า
1. ส่วนใหญ่เจริญในทุ่งหญ้า
2. ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐาน กับที่วงแหวนเห็นชัดเจน
2. ก้านสั้น อ้วนป้อมและไม่โป่งพองออก ผิวเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีสะเก็ด
3. สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาว ถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง
3. สีผิวของหมวกส่วนใหญเป็นสีขาวถึงสีน้ำตาล
4. ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้ หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่
4. ผิวของหมวกเห็ดเรียบจนถึงเป็นเส้นใยและ เหมือนถูกกดจนเป็นแผ่นบาง ๆ ดึงออกยาก
5. ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง
5. ครีบแยกออกจากกัน ในระยะแรกเป็นสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
6. สปอร์ใหญ่มีสีขาวหรือสีอ่อน มีลักษณะใส ๆ รูปไข่กว้าง
6. สปอร์สีน้ำตาลอมม่วงแก่รูปกระสวยกว้าง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาล-01การปฐมพยาบาลนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก และทำการช่วยดูดพิษจากผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal แล้วดื่ม 2 แก้ว โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อนแล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง จึงนำส่งแพทย์พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษหากยังเหลืออยู่ หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
อนึ่งห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยพละการ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ
หลังจากปฐมพยาบาลผู้ป่วยแล้วให้รีบนำส่วนแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) หรืออาจจะทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างนำส่งแพทย์ด้วยกันก็ได้

MushroomPois-01

ข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลโพธิ์ไทร เบอร์โทรศัพท์ 045-496000

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

stroke_info-01

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
    • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
    • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้
    • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
    • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
    • ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
    • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
    • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
    • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
    • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
    • การขาดการออกกำลังกาย

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

stroke_info-02

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ
  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เอกสารเผยแพร่

Download “Stroke-present.zip”

Stroke-present.zip – Downloaded 707 times – 747.12 KB

สื่อประชาสัมพันธ์

https://www.youtube.com/watch?v=RwGc7-R1v0Q

 

เราอาเซียนไง….จะใครหล่ะ

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)

logo-asean-hi1สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

East_Asia_Summit

ข้อมูล

  • คำขวัญ
    “One Vision, One Identity, One Community”
    (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
  • สัญลักษณ์อาเซียน
    Seal_of_ASEAN

    ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน

    • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
    • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
    • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
    • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
  • สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
    สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์
  • เลขาธิการ
    ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ.2551)
  • ปฏิญญากรุงเทพ
    8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
  • กฎบัตรอาเซียน
    16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  • ประเทศสมาชิก
    อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรก ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
    asean-countries-flags

    • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
    • ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
    • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
    • สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)
    • ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
    • บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
    • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)
    • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR)
    • สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
    • ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
  • อาเซียน +3  ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
  • อาเซียน+6 ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ +3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์
  • กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)
    กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคม อาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558)เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

เอกสารเผยแพร่

มารู้จักอาเซียนกันเถอะ (609 downloads ) Asian Minibook (555 downloads )

ข้อมูลอ้างอิง/แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

สมาธิเพื่อสุขภาพ ผู้รับบริการทั่วไป

การให้สมาธิเพื่อนสุขภาพ แก่ผู้มารับบริการทั่วไป โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ณ วันที่ 21 กันยายน 2558

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.983282155049856.1073741856.311434945567917]

โรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด

[fbalbum url=https://www.facebook.com/media/set/?set=a.981015731943165.1073741847.311434945567917] หน่วยงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลโพธิ์ไทร ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการ ในเรื่องโรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด มีรายละเอียดดังนี้

โรคและอาการอันตรายที่ห้ามนวด

  1. โรคหัวใจ เพราะอาจทำให้ช๊อคได้
  2. มะเร็ง เพราะจำให้เชื้อมะเร็งแพร่กระจายตามกระแสเลือด
  3. เบาหวาน (ระดับน้ำตาลในโลหิต 180 ขึ้นไป) เพราะจำทำให้กล้ามเนื้อช้ำและหายยาก
  4. ความดันโลหิตสูง 160 ขึ้นไป ไม่ควรนวด เพราะจำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้
  5. โรคผิวหนัง เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวด

  1. เส้นเลือดคอด้านหน้า เพราะทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้สมองตายได้
  2. ทัดดอกไม้เหนือใบหู เพราะเป็นจุดบอบบางของกระโหลกศีรษะจะแตกหักง่าย
  3. ไหปลาร้า เพราะอาจจะแตกหักหรือหลุดได้ง่าย
  4. ใต้รักแร้ เพราะเป็นจุดส่วนรวมเส้นประสาทและต่อมน้ำเหลืองจะทำให้อักเสบได้
  5. มุมหัวไหล่ เพราะจะหลุดง่าย
  6. ข้อพับสอก เพราะจำทำให้อักเสบและหลุดได้ง่าย
  7. หัวเข่า เพราะจำทำให้อักเสบและหลุดได้ง่าย
  8. มีไข้ตัวร้อน อุณหภูมิ 38 องศาขึ้นไป
  9. อาการอักเสบบวมแดง เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น
  10. กระดูกแตกหัก
  11. แผลผ่าตัด เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและอักเสบขึ้นมาได้
  12. ภายหลังบาดเจ็บภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีการช้ำและยังอักเสบ
  13. แผลเปิดและแผลเรื้อรัง อาจจะทำให้ติดเชื้อและเป็นมากกว่าเดิม
  14. เปิดประตูลมไม่เกิน 45 นาที ถ้าเกิดเส้นเลือดจะแตกและเป็นอัมพาตได้
  15. ควรรับประทานอาหารมาก่อนทำการนวดอย่างน้อย 30 นาที
  16. ไม่ควรทานยาแก้ปวดมาก่อนทำการนวด เพราะจำให้กล้ามเนื้อชานวดแล้วไม่ได้ผล
  17. บริเวณที่เกิดสีดำเพราะเนื้อเยื่อตาย จากเส้นเลือดอุดตัน เพราะการนวดอาจทำให้ก้อนเลือดจากเส้นเลือดดำเคลื่อนไปอุดหลอดเลือดในปอดหรือสมองได้
  18. ภาวะเลือดออก
  19. น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ พุพอง
  20. ฝี เพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น

12 วิธีประหยัดไฟฟ้าอย่างชาญฉลาด

วิธีที่ฉลาด คือ ใช้ให้น้อยลง

การผลิตไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้พลังงานมาก พลังงานความร้อนส่วนใหญ่ได้มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก๊าซ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องทำความร้อนนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง เพราะก่อนที่ไฟฟ้าจะถูกส่งไปถึงบ้านของพวกเรานั้น พลังงานประมาณ 60 เปอร์เซนต์ในโรงไฟฟ้าจะหายไปในรูปของความร้อนสูญเปล่า และอีก 10 เปอร์เซนต์หายไปกับสายส่งไฟฟ้าและหม้อแปลง

การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทั่วโลกนั้นแตกต่างกันอย่างมหาศาลแม้แต่ในประเทศ อุตสาหกรรม โดยในครัวเรือนขนาดทั่วไปของประเทศแถบยุโรปใช้พลังงาน 4,667 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้ 11,209 กิโลวัตต์ชั่วโมง และในประเทศญี่ปุ่นใช้ 5,945 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้หลอดไฟมากกว่ายุโรปถึง 3 เท่า และใช้ตู้เย็นมากกว่ายุโรป 2 เท่า แต่นี่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐและยุโรปมีความสะดวกสบายต่างกัน  เพราะมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกินไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น 2-10 เท่า ทั้งๆ ที่มีการทำงานเหมือนกัน และส่วนใหญ่มีคุณภาพดีกว่าด้วย  การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดนั้น ทำให้ครัวเรือนขนาดทั่วไปใช้ไฟฟ้าลดลงถึง 1,300 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยได้รับความสะดวกสบายเหมือนเดิม ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาเกือบ 10 เท่า

power-eq

เรามีวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัยด้วยการตรวจดูอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • สายไฟฟ้า
    • สายไฟฟ้าเก่าหรือหมดอายุใช้งาน สังเกตได้จากฉนวนจะแตกหรือแห้งกรอบบวม
    • ฉนวนสายไฟชำรุด อาจเกิดจากหนูหรือแมลงกัดแทะหรือวางของหนักทับ เดินสายไฟใกล้แหล่งความร้อน ถูกของมีคมบาด
    • จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
    • สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
    • สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต้องเดินสายไฟฟ้าโดยใช้พุกประกับ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้
  • เต้ารับ-เต้าเสียบ
    • เต้ารับ เต้าเสียบ ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
    • การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
    • เต้าเสียบ เมื่อเสียบใช้งานกับเต้ารับต้องแน่น
    • เต้ารับ ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็กเล็กที่อาจเล่นถึงได้
  • แผงสวิตช์ไฟฟ้า
    • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและสูงพอควร ห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่าง ๆ
    • ตรวจสอบดูว่ามี มด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด
    • อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
    • ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ใด
    • แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน
  • สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์
    • ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
    • ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด
    • ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
    • ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
    • ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น
  • เบรกเกอร์
    • ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
    • ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด
    • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ
    • เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ตู้เย็น-ตู้แช่
    • ให้ตรวจสอบตู้เย็น ตู้แช่ ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
    • ให้นำแผ่นฉนวน เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก ปูบริเวณหน้าตู้เย็น ตู้แช่ และแนะนำให้ผู้ที่จะไปเปิดตู้เย็น ตู้แช่ ให้ยืนอยู่บนแผ่นฉนวนดังกล่าวเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว
    • ควรถอดปลั๊กตู้เย็น ตู้แช่ ออก หากท่านไม่ใช้งานเป็นเวลานานหรือท่านไม่อยู่บ้านเป็นเวลานาน
    • โครงโลหะของตู้เย็น ควรทำการต่อสายลงดิน
  • เครื่องปรับอากาศ
    • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งบุคคลสามารถเข้าไปจับต้องหรือสัมผัสได้) ว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
    • สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อเข้าเครื่องปรับอากาศ ต้องใช้ขนาดที่ถูกต้องตามพิกัดการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ
    • จุดต่อสายและจุดเข้าปลายสายทุกจุด ต้องทำให้แน่นและปิดฝาครอบหรือพันฉนวนให้เรียบร้อย
    • เครื่องปรับอากาศต้องไม่ติดตั้งใกล้สารหรือวัตถุไวไฟ
    • หากขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศมีเสียงดังมากผิดปกติ ควรให้ช่างตรวจสอบและแก้ไข
    • ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ เมื่อท่านออกจากบ้าน
  • หม้อหุงข้าว
    • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของหม้อหุงข้าว โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
    • ปลั๊กเสียบของหม้อหุงข้าวต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปลื่อยชำรุด
    • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กออกทันที
    • การใช้หม้อหุงข้าวให้ใส่หม้อหุงข้าวตัวในพร้อมปิดฝาให้เรียบร้อยแล้วจึงเสียบปลั๊กใช้งาน
    • การจับยกถือหม้อหุงข้าวให้ถอดปลั๊กให้เรียบร้อยก่อน
  • เครื่องซักผ้า
    • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้า ต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
    • ปลั๊กเสียบของเครื่องซักผ้าเมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น
    • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของเครื่องซักผ้า โดยใช้ไขควงเช็ดไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
    • โครงโลหะของเครื่องซักผ้า ควรทำการต่อสายดิน
    • ผู้ใช้เครื่องซักผ้า ร่างกายต้องไม่เปียกชื้นและไม่ยืนอยู่บนพื้นที่เปียกแฉะขณะจับต้องเครื่องซักผ้า
    • เมื่อเลิกใช้งานต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
  • พัดลมตั้งพื้น
    • ขณะใช้งานหากพัดลมมีเสียงดังผิดปกติ หรือมีกลิ่นไหม้ หรือหยุดหมุนมีเสียงครางให้หยุดใช้พัดลมทันที และนำไปตรวจซ่อมแก้ไข
    • ในที่ที่มีสารไวไฟไม่ควรใช้พัดลม เพราะอาจเกิดประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ ในกรณีที่เป็นพัดลมตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
    • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของพัดลม โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
    • ปลั๊กเสียบของพัดลมต้องไม่แตกร้าว และสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
    • เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง ให้ดึงปลั๊กเสียบออก
  • พัดลมติดเพดาน, ฝาผนัง
    • เมื่อเลิกใช้ทุกครั้งให้ปิดสวิตช์
    • สวิตช์ปิด-เปิดพัดลม ต้องมีฝาครอบไม่แตกร้าว
    • หากสวิตช์พัดลมที่มีฝาครอบเป็นโลหะ ให้ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ตามที่กล่าวมาแล้ว
  • เครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า
    • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
    • โครงโลหะของเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า ควรทำการต่อสายดิน
    • ถ้าเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้า มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่สามารถปั๊มน้ำขึ้นได้ห้ามใช้งานและดำเนินการตรวจสอบเครื่องปั๊มน้ำทันที
    • ต้องไม่ติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำไฟฟ้าใกล้สารไวไฟ
    • เมื่อเลิกใช้งานให้ปิดสวิตช์ หากเป็นแบบปลั๊กเสียบให้ถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
  • กาต้มน้ำไฟฟ้า
    • ปลั๊กเสียบของกาต้มน้ำไฟฟ้า เมื่อเสียบเข้ากับเต้ารับต้องให้แน่น เนื่องจากกาต้มน้ำไฟฟ้าใช้กระแสไฟฟ้จำนวนมาก
    • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
    • สายไฟฟ้าของกาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ ฉีกขาด แตกร้าว
    • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะของกาต้มน้ำไฟฟ้าโดยใช้ไขควงเช็คไฟหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วให้ดำเนินการซ่อมแซม
    • กาต้มน้ำไฟฟ้า ควรวางอยู่บนสิ่งที่ไม่ติดไฟ เช่น แผ่นกระเบื้อง แผ่นแก้ว และต้องไม่อยู่ ใกล้สารที่ติดไฟ
    • ขณะใช้งาน ต้องระวังอย่าให้น้ำในกาต้มน้ำไฟฟ้าแห้ง
    • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
  • เตารีด
    • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตารีด ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
    • ตรวจสอบสายไฟที่ต่อที่เตารีดต้องให้แน่น เนื่องจากส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอาจโยกคลอนในขณะใช้งาน และให้ตรวจสอบปลอกฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีดอย่าให้เปื่อยและชำรุด
    • ปลั๊กเสียบของเตารีดเมื่อเสียบกับเต้ารับต้องให้แน่นเนื่องจากเตารีดใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก
    • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ปลั๊กเสียบสูง
    • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทันที
    • การใช้งานอย่าวางเตารีดใกล้สิ่งที่จะติดไฟได้ง่ายเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ขึ้นได้
    • สายไฟฟ้าของเตารีดห้ามใช้สายอ่อนธรรมดา เนื่องจากตัวเตารีดอาจไปถูกสายไฟฟ้าทำให้ฉนวน พีวีซี. ละลายเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือผู้ใช้อาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ ให้เลือกใช้สายไฟเฉพาะของเตารีด ซึ่งเป็นสายที่มีฉนวน 2 ชั้น และชั้นนอกทนความร้อนได้
    • ขณะใช้เตารีด ผู้ใช้ควรยืนอยู่บนฉนวน เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นไม้ตามความสะดวก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าดูดผู้ใช้ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วที่ตัวเตารีด
    • ตรวจสอบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่
  • เครื่องดูดฝุ่น
    • เต้าเสียบของเครื่องดูดฝุ่น ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
    • สายไฟฟ้าของเครื่องดูดฝุ่นติดต่อกันเป็นเวลานานมาก(หลายชั่วโมง) เพราะเครื่องจะร้อนมากอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
    • และอาจเกิดการลุกไหม้ขึ้นได้
    • หมั่นเทฝุ่นในถุงกรองทิ้ง จะช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • เครื่องเป่าผมไฟฟ้า
    • เต้าเสียบของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
    • สายไฟฟ้าของเครื่องเป่าผม ต้องไม่แตกเปื่อยยุ่ย
    • ใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบส่วนที่เป็นโครงโลหะ หากพบว่าไฟฟ้ารั่วให้แก้ไขก่อนใช้งานต่อไป
  • เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า
    • ให้ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะของเตาไฟฟ้าและกะทะไฟฟ้า โดยใช้ไขควงเช็คไฟ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วก็ให้แก้ไข
    • สายไฟฟ้าของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่เสื่อมสภาพ หรือฉีกขาด แตก
    • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
    • เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ต้องไม่วางอยู่บนพื้นที่ติดไฟและอยู่ใกล้สารไวไฟ
    • เมื่อเลิกใช้งาน ต้องถอดปลั๊กเสียบออกทุกครั้ง
    • ผู้ใช้เตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ควรยืนอยู่บนพื้นฉนวน เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยางแห้ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าดูดเนื่องจากไฟฟ้ารั่ว
    • ควรระวังอย่าตั้งสิ่งหุงต้มบนเตาไฟฟ้า กะทะไฟฟ้า ทิ้งไว้นาน เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้
  • โทรทัศน์
    • ไม่ควรตรวจซ่อมโทรทัศน์ด้วยตนเอง หากท่านไม่มีความรู้เพียงพอเนื่องจากมีส่วนของไฟฟ้าแรงสูงอยู่ในโทรทัศน์ด้วย
    • เต้าเสียบ(ปลั๊กเสียบ) ของโทรทัศน์ต้องไม่แตกร้าวและสายที่ขั้วปลั๊กไม่หักพับและเปื่อยชำรุด
    • ห้ามเปิดฝาครอบโทรทัศน์ในขณะที่เปิดดูโทรทัศน์อยู่

     

ขอบคุณข้อมูลจาก : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค