Category Archives: นโยบายกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงตราอัตลักษณ์กระทรวงใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป

กระทรวงสาธารณสุขปรับปรุงตราอัตลักษณ์กระทรวงสาธารณสุขใหม่จากรูปแบบเดิม (แบบตาม พรบ. 2485) โดยให้ใช้แบบปรับปรุงใหม่ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เป็นต้นไป ตามข้อกำหนดตราอัตลักษณ์ประจำกระทรวงสาธารณสุข

[Download not found]

[ดาวน์โหลด] คู่มือการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559

เอกสารคู่มือการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559

  • คู่มือกองทุนเล่มที่ 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว ปีงบประมาณ 2559
  • คู่มือกองทุนเล่มที่ 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2559
  • คู่มือกองทุนเล่มที่ 4 งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันสูงปีงบประมาณ 2559

เอกสารดาวน์โหลด

Download “คู่มือบริหารงบกองทุนปีงบประมาณ 2559 เล่มที่ 1”

FUND59_01.rar – Downloaded 3297 times – 30.08 MB

Download “คู่มือบริหารงบกองทุนปีงบประมาณ 2559 เล่มที่ 3”

FUND59_03.rar – Downloaded 1340 times – 5.28 MB

Download “คู่มือบริหารงบกองทุนปีงบประมาณ 2559 เล่มที่ 4”

FUND59_04.rar – Downloaded 1242 times – 1.78 MB

ข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2558

ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้มีการบูรณาการยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขโดยจัดกระบวนการกลไกการบูรณาการยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันในยุทธศาสตร์แต่ละด้าน ตั้งแต่กระบวนการวางแผน การจัดทำรายละเอียดมาตรการ เป้าหมาย แผนงาน โครงการงบประมาณร่วมกัน โดยยึดปัญหาประชาชนเป็นเป้าหมายหลักและใช้กลไกคณะกรรมการในการทำงานร่วมกันในแต่ละประเด็น15ประเด็น ได้แก่

  1. ระบบบริการระดับปฐมภูมิ
  2. ระบบบริการระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ
  3. ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย
  4. ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มเด็กวัยเรียน
  5. ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยรุ่น
  6. ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
  7. ด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ
  8. ด้านพัฒนาระบบการควบคุมโรค
  9. ด้านพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  10. ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  11. ด้านการป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติด
  12. ด้านแก้ไขปัญหาและพัฒนาสาธารณสุขชายแดนภาคใต้
  13. ด้านการต่างประเทศและอาเซียน
  14. ด้านพัฒนาบุคลากร
  15. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำเอกสารฉบับนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานในยุทธศาสตร์ที่เน้นหนักให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

[Download not found] [Download not found] [Download not found]

การเตรียมความพร้อมของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรเข้าสู่ประชาคมอาเซียนผ่านช่องทาง “English and AEC Today”

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

ในปี พ.ศ. 2558 จุดมุ่งหมายหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : ACE) คือ การนำอาเซียนไปสู่การตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base) ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี 5 สาขา ได้แก่ สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข ของไทย จะต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัว เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่เดิมและกำลังจะ เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมทั้งจะต้องมีความรู้ในการให้บริการกับประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน

เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพธิ์ไทรตระหนักและเล็งเห็นถึงโอกาสและความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากโครงการพัฒนาทักษะด้านภาษาให้กับบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอโพธิ์ไทรโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคลากรสังกัดเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอโพธิ์ไทรมีความรู้และทักษะในการติดต่อสื่อสารกับประชาชนในกลุ่มประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน

โดยบุคลากร เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลทั่วไปสามารถติดตามผ่านช่องทาง “English and AEC Today” ซึ่งเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอโพธิ์ไทรให้บริการข้อมูล/ปรับปรุง เกร็ดความรู้และข่าวสารผ่านเว็บไซต์

AEC01

  • เว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (https://www.psh.go.th)
  • เว็บไซต์สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ไทร (http://www.ssophosai.in.th)

เอกสารแผนยุทธศาสตรการพัฒนาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี ประจําปงบประมาณ 2557

ในปงบประมาณ 2557 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ไดกําหนดยุทธศาสตรเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพของคนไทยเพื่อเปาหมายที่สําคัญคือประชาชนชาวอุบลราชธานี มีสุขภาพดี โดยไดใหความสําคัญในการพัฒนากระบวนการสรางสุขภาพและปองกันโรค การรักษาพยาบาล การสงตอ การคุมครองผูบริโภค และการบริหารจัดการ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมดานสุขภาพ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ไดกําหนดทิศทางในการทํางานที่สําคัญคือ จะมุงพัฒนาหนวยงานดานบริหารและบริการใหมีคุณภาพตามวิสัยทัศน “เปนเลิศดานบริหาร ไดมาตรฐานดานบริการ” โดยกําหนดยุทธศาสตรการดําเนินงาน 3 ยุทธศาสตร ประกอบดวย

  • ยุทธศาสตรที่ 1 การพัฒนาสุขภาพตามกลุมวัย
  • ยุทธศาสตรที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ประชาชนสามารถเขาถึงบริการได
  • ยุทธศาสตรที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการ ใหสามารถสนับสนุนการจัดบริการไดอยางมีคุณภาพ ใหมีการขับเคลื่อนกระบวนการทํางานโดยใชกลยุทธหลัก 2 กลยุทธ คือ กลยุทธหมูบานจัดการสุขภาพ กลยุทธสุขศึกษาประชาสัมพันธ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ไดจัดทําเอกสารแผนยุทธศาสตรการพัฒนาสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี ประจําปงบประมาณ 2557 ขึ้นเพื่อใหทุกหนวยงานที่เกี่ยวของ ใชเปนกรอบแนวทางในการดําเนินงานและจัดเก็บขอมูลตามตัวชี้วัด สามารถจัดเก็บขอมูลที่เปนมาตรฐานเดียวกัน ถูกตองตามขอบเขต คํานิยามที่กําหนด ขอขอบคุณคณะผูบริหาร และกลุมงานทุกกลุมงานที่ไดใหขอมูลที่เปนประโยชนในการจัดทําเอกสารฉบับนี้

[Download not found]

ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนด ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ มาตรการการดำเนินงานและตัวชี้วัด 44 ตัว เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ที่กำหนด ประกอบด้วย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย แบ่งกลุ่มวัยที่ต้องดูแล 5 กลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) /สตรี กลุ่มเด็กวัยเรียน (5 -14 ปี) กลุ่มเด็กวัยรุ่น/นักศึกษา (15-21 ปี) กลุ่มวัยท างาน(15-59 ปี) กลุ่มผู้สูงอายุ(60 ปีขึ้นไป)และผู้พิการ
  • ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและจัดระบบบริการใน 5 ประเด็น ได้แก่ การเข้าถึงบริการ คุณภาพบริการ คุณภาพการบำบัดรักษา บริการเฉพาะ กลุ่มระบบบริการ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดบริการให้สามารถสนับสนุนการจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การจัดการระบบบุคลากร การเงินการคลัง ยาและเวชภัณฑ์ ระบบข้อมูล การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณเพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพในแต่ละยุทธศาสตร์ บรรลุตามเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่กำหนด

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ จึงจัดทำเอกสารฉบับนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานและจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ถูกต้องตามขอบเขต คำนิยามที่กำหนด

[Download not found]

[สาระความรู้]เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการเฝ้าระวังป้องกันมะเร็งเต้านมขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น รวมทั้งมาดูกันว่าจะมีวิธีใดช่วยลดความเสี่ยงจากโรคนี้

ICD-10 C50

ICD-9 174 (Malignant neoplasm of female breast)-175(Malignant neoplasm of male breast)

ปัจจัยเสี่ยง

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย
  • ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
  • การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

อาการเริ่มต้นที่อาจจะเป็นมะเร็ง

มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

  • มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
  • ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
  • หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
  • มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
  • เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
  • การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

 

 

การตรวจเต้านมตนเอง

การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 3-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดูหรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

วิธีการตรวจ 3 ท่า

ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

  1. ยืนหน้ากระจก

    • ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
    • ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
    • ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น
    • โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว
  2. นอนราบ

    • นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
    • ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
    • ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย
  3. ขณะอาบน้ำ

    • สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน
    • สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน

ระยะของมะเร็งเต้านม

  • ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม
  • ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
  • ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

การดูแลเต้านม

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
  • สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  • หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ

การดูแลเต้านมตนเองโดยทั่วไป

  1. ควรตรวจเต้านนมตนเอง หากท่านตรวจแล้วไม่มั่นใจ ให้ขอรับคำปรึกษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน หรือศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านท่าน

เอกสารเผยแพร่

[Download not found] [Download not found]

ที่มา

[OPPP2557]แนวทางการดำเนินงาน OP/PP Individual data 2557

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศ แนวทางการดำเนินงาน OP/PP Individual data ปี 2557 และแจ้งให้ดาวน์โหลดเอกสาร เพื่อใช้อ้างอิงและเป็นการแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

  1. 1. แนวทางการดำเนินงาน OP/PP Individual data ปี 2557
    ดาวน์โหลด >> http://op.nhso.go.th/opdownload/download/file/OP-PP_2557_20130830.pdf
  2. มาตรฐานข้อมูล 21 แฟ้ม เวอร์ชัน 5.0
    ดาวน์โหลด >> http://op.nhso.go.th/opdownload/download/file/Structure21_v5_NHSO.pdf
  3. การจัดทำข้อมูลแฟ้ม PERSON และ CHRONIC ให้มีคุณภาพเพื่อใช้เป็นเป้าหมายงานบริการสาธารณสุข
    ดาวน์โหลด >> http://op.nhso.go.th/opdownload/download/file/Guild_line_for_PERSON_and_CHRONIC_data.pdf

อ้างอิง :

[OPPP 2557] เอกสารการประชุมชี้แจงการพัฒนาระบบข้อมูลบริการผู้ป่วยนอก ข้อมูลบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรครายบุคคล ปีงบประมาณ 2557

เอกสารการประชุมชี้แจงการพัฒนาระบบข้อมูลบริการผู้ป่วยนอก ข้อมูลบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรครายบุคคล ปีงบประมาณ 2557 ประชุมเมื่อ วันที่ 18 มิ.ย.56 โดย

  • นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ สำนักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.
  • คุณชัยวัฒน์ ดลยวัฒนา สำนักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

Continue reading

สิทธิของผู้ป่วย 10 ประการ

สิทธิมนุษยชนมีหลักสำคัญที่ยอมรับในระดับสากลนั้น คือ บุคคลมีสิทธิที่จะตัดสินใจในกิจการ ต่าง ๆ ส่วนตัวด้วยตนเอง ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระของมนุษย์

โดยเฉพาะผู้ป่วย ถือว่าเป็นบุคคลที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสมควรประกอบการ ตัดสินใจของตนเอง ฉะนั้นผู้ป่วยจึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะต้องได้รับการพิทักษ์สิทธิ

Continue reading