ข้อควรรู้เมื่อประสบภัยจากรถ
ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ และ เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ

เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้ กรณีมีผู้บาดเจ็บ
  1. นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
  2. แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
  3. แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
  4. เตรียมเอกสาร
    1. ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ
    2. ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
  5. ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ

การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล

เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยให้เตรียมเอกสารดังนี้
  1. สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
  2. สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจประทับตราโล่และสำเนาถูกต้องเอกสาร
  3. สำเนาคู่มือรถหน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
  4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
  6. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
  7. สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ

วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต – ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
  1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน                 30,000 บาท
  2. ค่าทุพพลภาพ/สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพ
1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท ในชั้นต้น 35,000 บาท ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
  1. กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน         80,000 บาท
  2. กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร               300,000 บาท
  3. สูญเสียอวัยวะ
    • นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป               200,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน        250,000 บาท
    • สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน        300,000 บาท
  4. ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน   4,000 บาท *ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
หมายเหตุ สำหรับกรมธรรม์ที่เกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป เพิ่มเติม
  • Q: มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน ? เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
  • Q: มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ  จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่? ตามระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อน การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้อต้นจากรถที่เกิดเหตุ(หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน) ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนโดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
สิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทยมีอะไรบ้าง
คนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาลโดยสิทธิการรักษาพยาบาลมี 3 ระบบใหญ่คือ
  1. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
  2. สิทธิประกันสังคม
  3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ30บาท
ซึ่งรัฐบาลให้การดูแลค่าใช้จ่ายแตกต่างกันดังนี้
  1. สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการคุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว (บิดา มารดา คู่สมรสและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย)เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยมีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ดูแลระบบออกกฎระเบียบ
  2. สิทธิประกันสังคม คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนตามสิทธิ สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียน โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทำหน้าที่ดูแลระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
  3. สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาทคุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจหรือสิทธิอื่นๆ จากรัฐ ให้ได้รับบริการ สาธารณสุข ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน) ปัจจุบันมีผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพจำนวนกว่า 48 ล้านคน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Selection_055
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีสิทธิอะไรบ้าง
เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพกับผู้ป่วย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยไว ้ดังต่อไปนี้
  1. ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  2. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่ มี การเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และ ลักษณะของความเจ็บป่วย
  3. ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่าง เพียงพอ และเข้าใจชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการ ยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือ จำเป็น
  4. ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย ทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้อง ขอความช่วยเหลือหรือไม่
  5. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน
  6. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริ การแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และสถานบริการได้
  7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน
  8. ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
  9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของ ตน ที่ปรากฏใน เวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น
  10. บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
หากพบปัญหาจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถดำเนินการได้อย่างไรบ้าง
ช่องทางในการ แจ้งปัญหาจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ
  1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ส่วนกลาง)
    • บริการสายด่วน สปสช. โทร 1330
    • กระดานข่าว (Web Board) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (http://www.nhso.go.th)
    • เสนอแนะข้อคิดเห็น อีเมล์ สปสช.
  2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตทุกเขต (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 อุบลราชธานี)
  3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาจังหวัด
วิธีการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย สามารถใช้ได้ในกรณีใดบ้าง
  1. เจ็บป่วยทั่วไป
    • เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
    • แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด))หมายเหตุ : ปัจจุบันมีนโยบายใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว ทั้งนี้ ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
  2. เจ็บป่วยฉุกเฉิน
    • การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้
    • โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
    • โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
    • โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
    • โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด
    • ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย
  3. กรณีอุบัติเหตุ
  4. การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
    • เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ
    • แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด))
    • หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ตามภาวะความจำเป็นของโรค
โรงพยาบาลโพธิ์ไทรเปิดให้บริการช่วงเวลาใดบ้าง
  • แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08:00 – 16:00 น.
  • แผนกฉุกเฉิน (ER) เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง