เตือนระวังเห็ดพิษ พร้อมวิธีสังเกต

เข้าสู่ช่วงต้นฤดูฝนสิ่งที่มากับช่วงนี้คือ ผักป่า เห็ด แมลงชนิดต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมาวางจำหน่าย ล่าสุด โรงพยาบาลโพธิ์ไทร เตือนประชาชน อย่านำเห็ดที่ไม่รู้จักดี หรือ มีลักษณะผิดจากปกติ มารับประทาน เพราะพิษจากเห็ดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อรางกายถึงแก่ชีวิตได้

วิธีการสังเกตว่าเห็ดชนิดใดเป็นเห็ดพิษ เริ่มจาก เห็ดไข่ ถ้าเป็นเห็ดพิษภายนอกจะมีลักษณะผิวแตกเป็นตา ก้านตัน ผิวด้านขาว ไม่มีริ้ว ส่วนเห็ดที่รับประทานได้จะมีผิวเรียบ ก้านโปร่ง ผิวมันเหลืองนวลและมีริ้ว

MushroomPois-02ธรรมชาติของเห็ดพิษสังเกตง่ายๆ คือดอกเห็ดจะมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของเชื้อ มักจะมีสีสันที่ฉูดฉาด เช่น สีส้ม สีเหลือง สีเทา สีขาว เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วอาจจะเกิดอาการขึ้นทันทีหลังจากรับประทาน หรืออาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน บางชนิดพิษของเห็ดออกฤทธิ์ช้าได้ถึง 14 วัน ความรุนแรงของอาการแล้วแต่ชนิดของเห็ดพิษ และปริมาณ ที่รับประทานเข้าไป มีอาการเริ่มแรกคือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว บางรายอาจมึนงง เจ็บหน้าอก หน้าแดง ง่วงซึม ปากชา น้ำลายไหล ใจสั่นเป็นตะคริว อ่อนเพลีย ถ้าพบอาการดังกล่าว ให้รีบไปรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทันที

เห็ดพิษที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ส่วนใหญ่ เป็นเห็ดกลุ่มเห็ดระโงก เห็ดระโงกมีหลายสี หลายชนิด เช่น เห็ดระโงกหินหรือเห็ดไข่ตายซาก หมวกเห็ดเป็นรูปวงกลม ขอบไม่มีริ้ว ผิวด้านในของ เยื่อหุ้มรูปถ้วยแนบกับโคนก้าน เมื่อบานออกมาเป็นรูปกระทะคว่ำ เห็ดระโงกหินหรือเห็ดไข่เป็ด หมวกเห็ดเป็นรูปกระทะคว่ำสีขาว ลักษณะคล้ายเห็ดตายซาก แตกต่างกันที่มีขนรุงรังก้านดอก เห็ดระโงกตีนเปาพิษร้ายแรงมาก เมื่อดอกยังตูมจะแยกไม่ออกว่าเป็นเห็ดระโงกมีพิษหรือไม่  เพราะเหมือนกับเห็ดระโงกที่รับประทานได้

ส่วนอาการผู้ที่ได้รับประทานเห็ดพิษ เริ่มแรกจะมึนศีรษะ ใจสั่น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เจ็บหน้าอก ตัวชา และสิ่งที่ต้องรีบปฏิบัติ คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้มากที่สุด และ รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 2 ชั่วโมง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

ตารางเปรียบเทียบลักษณะเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้

เห็ดพิษ
เห็ดรับประทานได้
1. ส่วนใหญ่เจริญงอกงามในป่า
1. ส่วนใหญ่เจริญในทุ่งหญ้า
2. ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐาน กับที่วงแหวนเห็นชัดเจน
2. ก้านสั้น อ้วนป้อมและไม่โป่งพองออก ผิวเรียบไม่ขรุขระ ไม่มีสะเก็ด
3. สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาว ถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง
3. สีผิวของหมวกส่วนใหญเป็นสีขาวถึงสีน้ำตาล
4. ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้ หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่
4. ผิวของหมวกเห็ดเรียบจนถึงเป็นเส้นใยและ เหมือนถูกกดจนเป็นแผ่นบาง ๆ ดึงออกยาก
5. ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง
5. ครีบแยกออกจากกัน ในระยะแรกเป็นสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
6. สปอร์ใหญ่มีสีขาวหรือสีอ่อน มีลักษณะใส ๆ รูปไข่กว้าง
6. สปอร์สีน้ำตาลอมม่วงแก่รูปกระสวยกว้าง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาล-01การปฐมพยาบาลนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มาก และทำการช่วยดูดพิษจากผู้ป่วยโดยวิธีใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน activated charcoal แล้วดื่ม 2 แก้ว โดยแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียก่อนแล้วจึงดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนออกมาอีกครั้ง จึงนำส่งแพทย์พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษหากยังเหลืออยู่ หากผู้ป่วยอาเจียนออกยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชาผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนได้ง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
อนึ่งห้ามล้างท้องด้วยการสวนทวารหนักโดยพละการ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น เพราะวิธีนี้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยหากร่างกายขาดน้ำ
หลังจากปฐมพยาบาลผู้ป่วยแล้วให้รีบนำส่วนแพทย์โดยด่วน พร้อมกับตัวอย่างเห็ดพิษ (หากยังเหลืออยู่) หรืออาจจะทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยในระหว่างนำส่งแพทย์ด้วยกันก็ได้

MushroomPois-01

ข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลโพธิ์ไทร เบอร์โทรศัพท์ 045-496000