Category Archives: เรื่องเด่นสุขภาพ

แนวทางการดูแลโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 4 โรคหลัก (สติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียน) สำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข

แนวทางการดูแลโรคทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 4 โรคหลัก (สติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียน) สำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข

Download “แนวทางการดูแลโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่น-4-โรคหลัก”

แนวทางการดูแลโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่น-4-โรคหลัก.pdf – Downloaded 1281 times – 3.96 MB

แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้

ขณะนี้วัคซีนโควิด 19 หลายชนิดได้รับการพัฒนาและผลิตสำเร็จ วัคซีนบางชนิดได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉิน (Emergency Use Authority: EUA) จากประเทศของบริษัทผู้ผลิตเองและจากประเทศที่นำวัคซีนไปใช้และวัคซีนบางชนิดอาจจะยังไม่ได้รับอนุญาตทะเบียน แต่รัฐบาลบางประเทศก็นำไปใช้ก่อน สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัยและประโยชน์ที่จะเกิดแก่ประชาชน ดังนั้นวัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดที่นำมาใช้ในประเทศจะต้องผ่านการพิจารณาและยอมรับจากคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการด้านวิชาการคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนฯ และคณะทำงานหลายคณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขาและภาคส่วน ที่สำคัญจะต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตขึ้นทะเบียนแบบพิเศษ เรียกว่า “Conditional approval for emergency use authorization” จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนทุกคนที่สมัครใจรับวัคซีน

วัคซีนโควิด 19 ที่จัดหาเป็นของประชาชนในประเทศ การที่จะให้ประชาชนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการเกิดโรคหรือการเกิดโรคที่รุนแรง ส่วนสำคัญเกิดจากการปฏิบัติงานของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกสังกัด ซึ่งต้องระดมแรงกายแรงใจกับภาระงานที่หนักและเวลาที่มีจำกัด สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ “แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย” ซึ่งกรควบคุมโรคได้จัดทำขึ้น โดยได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ในการทบทวนองค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 รวมถึงคณาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ สมาคม/ราชวิทยาลัยแพทย์สาขาต่าง ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญจากกรมควบคุมโรคและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการเขียนและขัดเกลาเนื้อหาในแนวทาง ซึ่งเป็นฉบับแรกสำหรับการปฏิบัติงานในช่วงต้น

การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. ตรวจสอบเป็นผู้ที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน
    • หากตั้งครรภ์ ควรเลื่อนนัดฉีดเป็นช่วงหลังคลอดแล้ว
    • กำลังรักษาอาการป่วยรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อนจนกว่าหายดี
    • มีอาการป่วยก่อนฉีดวัคซีน เช่น ไข้สูง ท้องเสียรุนแรง ควรเลื่อนนัดฉีดไปก่อน
  2. ตรวจสอบเป็นผู้ที่เคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนฉีดวัคซีนโควิด
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรงดอาหารก่อนการฉีดวัคซีน
  4. ตรวจสอบเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้รับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนได้ (เดือน มี.ค. 2564)
    • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า
    • ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่มีโรคประจำตัว 6 กลุ่ม และภาวะอ้วน

แนวทางปฏิบัติตัวก่อน-หลังฉีดวัคซีน

  1. หากมีโรคประจำตัวเรื้อรัง แพ้ยา/วัคซีน ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนฉีดวัคซีน
  2. ไม่ควรกินยาแก้ไข้ หรือยาแก้ปวด ก่อนฉีดวัคซีน เนื่องจากยาอาจไปกดภาวะการอักเสบทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
  3. รับประทานยาอะไรบ้าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ
  4. สังเกตอาการข้างเคียงที่โรงพยาบาลก่อนกลับบ้านอย่างน้อย 30 นาที
  5. เมื่อกลับบ้านแล้ว อาจพบว่ามีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น มีผื่น ปวด บวมบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ต่ำๆ ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆ ลดลง แต่ถ้าไข้สูงมาก รีบกลับมาพบแพทย์ หรือโทรแจ้ง 1669
  6. หลังจากการรับวัคซีนแล้ว 3 วัน โอกาสแพ้และผลข้างเคียงจากวัคซีนพบน้อยมาก ควรสังเกตอาการต่อไปจนครบ 30 วัน.

สาเหตุอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน

  1. ความกลัวการฉีดยา/วัคซีน อาจะถึงขั้นเวียนหัว เป็นลม
  2. โรค/อาการป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น อาจมีอาการอาหารเป็นพิษอยู่, เป็นไข้หวัดแต่อาการไม่มาก เมื่อรับวัคซีนไปพอดีกับไข้ขึ้นร่วมด้วย
  3. ปฏิกิริยาของวัคซีน บางคนอาจแพ้สารต่างๆ ในวัคซีนจนทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก และมีประวัติแพ้วัคซีนนี้มาก่อน
  4. ข้อจำกัดจากการบริหารวัคซีน อาทิ วัคซีนเย็นเกินไปขณะฉีด อาจจะทำให้ปวดมากขึ้น

กลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว ซึ่งถือเป็นกลุ่มนำร่องที่จะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ดังนี้

  1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. โรคหลอดเลือดสมอง
  5. โรคอ้วน
  6. โรคมะเร็ง
  7. โรคเบาหวาน

เอกสารดาวน์โหลด

Download “แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์ระบาดปี 64 ของประเทศไทย”

1729520210301021023.pdf – Downloaded 807 times – 3.39 MB

Download “แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยโรคระบบประสาท”

25640316092717AM_Final%2015%20March%20COVID%20vaccine%20and%20neurological%20disease%20with%20reference.pdf – Downloaded 568 times – 360.18 KB

ข้อมูลเพิ่มเติม

บรรยากาศการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ (วันที่ 18 เมษายน 2564)

RSV ภัยร้ายคุกคามลูกน้อย เสี่ยงปอดบวมฤดูฝน

RSV ภัยร้ายคุกคามลูกน้อย…. เสี่ยงปอดบวม?ฤดูฝน เป็นช่วงที่เด็กๆ มักจะป่วยบ่อย สามารถติดเชื้อโรคได้หลายชนิด รวมถึงไวรัส RSV ซึ่งเป็นเชื้อหนึ่งที่อาจจะพบได้บ่อยเช่นกัน
?? RSV คืออะไร ?
RSV มีชื่อเต็มๆ ว่า
?Respiratory Syncytial Virus?
เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ได้ตั้งแต่ หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวมได้ โดยเริ่มต้นมักมีอาการไข้ น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอมีเสมหะ ถ้าโรคเป็นรุนแรงขึ้น จะทำให้เกิดอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบาก
??เมื่อเป็นโรค RSV แล้วส่งผลเสียอย่างไร ?
เมื่อติดเชื้อ RSV เริ่มต้นจะมีอาการของไข้หวัด แต่ถ้ารุนแรงขึ้นอาจจะเป็นปอดบวมได้ ซึ่งถ้ารุนแรงมากอาจมีระบบหายใจล้มเหลวอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อาการของเด็กที่ติดเชื้อ RSV เริ่มจากมีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ ถ้ารุนแรงมากขึ้นจนเกิดหลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม จะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี๊ดๆ ได้ อาจจะอาเจียน รับประทานไม่ได้ อ่อนเพลีย ซึมลง ในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด โรคปอด หรือโรคหัวใจ มีโอกาสที่จะเกิดอาการรุนแรงจาก RSV ได้มากกว่าเด็กปกติทั่วไป ควรมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ
อาศัยอาการและอาการแสดงเป็นหลัก โดยการซักประวัติการป่วยและตรวจร่างกายโดยแพทย์ อาจจำเป็นต้องใช้ภาพรังสีปอด (เอกซเรย์) ถ้าสงสัยว่ามีหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดบวม การวินิจฉัยเชื้อ RSV เบื้องต้น อาจทำได้โดยการเก็บตัวอย่างจากเยื่อบุทางเดินหายใจส่งตรวจ (nasal swab) ได้ผลประมาณ 30 นาที อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีไวรัสหรือแบคทีเรียอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคปอดบวมได้เช่นกัน ถ้าจำเป็นอาจต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค
? #การรักษาโรค RSV ส่วนใหญ่รักษาตามความรุนแรงของโรคเป็นหลัก เช่น ให้ยาลดไข้ถ้ามีไข้ ให้น้ำเกลือถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ หรือถ้ามีภาวะหายใจเร็ว หอบเหนื่อย อาจต้องให้ออกซิเจนในโรงพยาบาล ถ้ามีหายใจวี๊ดๆ อาจต้องพ่นยาขยายหลอดลมหรือใช้วิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม กรณีที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว ก็อาจจำเป็นต้องใส่ท่อหลอดคอและใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าอาการจะดีขึ้น เป็นต้น
เชื้อ RSV ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ดังนั้นการป้องกันทำได้โดย ผู้ดูแลเด็ก รวมถึงคนรอบข้าง ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล แยกของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วยเด็ก และเน้นการทำความสะอาด รวมถึงของเล่น ควรให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าจะหายเป็นปกติ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ผู้ใหญ่ควรระมัดระวังการไปสัมผัสผู้ป่วย
งานควบคุมโรคโรงพยาบาลโพธิ์ไทร
โทร 045-496000, 045-496058 ต่อ 206
สายด่วนกรมควมคุมโรค 1422

คำแนะนำเรื่องสุขภาพจิต ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและผู้ปฏิบัติงานทางสาธารณสุข “ตระหนัก ไม่ตระหนก”

สถานการณ์ COVID-19 ยังคงระบาดอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งได้มีข่าวสารเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวต่างๆ ออกมามากมาย หลายคนเมื่อได้รับข่าวสารอาจจะเกิดความวิตกกังวลสะสมเพิ่มมากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ โรงพยาบาลโพธิ์ไทรมีคำแนะนำสำหรับการดูแลสุขภาพจิตให้กับทุกๆ คนเพื่อรับมือความวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อ COVID-19

มีปัญหาสุขภาพจิตสามารถโทรปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

กินร้อนช้อนกลางล้างมือ สกัดเชื้อโคโรนา

โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เริ่มระบาดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย กรมอนามัย แนะนำประชาชนยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สร้างสุขอนามัยที่ดีเป็นเกราะป้องกันการแพร่ระบาด

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า โรคปอดอักเสบจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่พบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส แบคคทีเรีย และสันนิษฐานว่าทำให้เกิดอาการอักเสบของถุงลม ปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยมีอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ และเป็นโรคติดต่อได้จากการสัมผัสฝอยละอองที่ผู้ป่วยไอ จาม เมื่อมือสัมผัสอาจผ่านเข้าสู่ร่างกายได้

ประชาชนจึงควรดูแลสุขอนามัยของตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไปยังผู้อื่น โดยให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ในกรณีข้าวกล่อง อาหารถุง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนก่อนทุกครั้ง ใช้ช้อนกลางในการตักอาหารเมื่อกินอาหารร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะอื่นๆ ร่วมกัน

ที่สำคัญล้างมือก่อนและหลังกินอาหาร รวมถึงหลังการใช้ส้วมด้วย เพราะในชีวิตประจำวันคนเราใช้มือหยิบจับสิ่งต่างๆ อีกทั้งมือยังสามารถนำเชื้อโรคไปปนเปื้อนสิ่งของรอบตัว ซึ่งผู้อื่นอาจได้รับเชื้อโรคไปด้วย การล้างมือจึงเป็นวิธีที่ง่ายและสำคัญเพื่อป้องกันโรค

ทั้งนี้ การล้างมืออย่างถูกวิธีให้ปฏิบัติตาม 7 ขั้นตอนง่ายๆ

  1. ฝ่ามือถูกัน
  2. ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
  3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและถูกซอกนิ้ว
  4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
  5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
  6. ปลายนิ้วมือถูฝ่ามือ
  7. ถูรอบข้อมือโดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 50

 

หากเดินทางในต่างประเทศ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในตลาดค้าสัตว์มีชีวิต โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วยหรือตาย รวมทั้งงดกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเป็นเชื้อก่อโรคระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้

ที่สำคัญควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ หากพบมีไข้ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบพบแพทย์ทันที

แนะวิธีเลือกใช้ถุงยางอนามัย

จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา พบว่า แม้ภาพรวมสถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 โดยรวมลดลง แต่หากจำแนกตามกลุ่มอายุจะพบว่าในกลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี มีอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ทั้งเอชไอวี ซิฟิลิส และโรคหนองใน

ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 กำหนดให้มีมาตรฐาน และข้อกำหนดตาม มอก. 625-2559 หรือ ISO 4074 : 2015 ทั้งนี้ถุงยางอนามัยต้องมีใบอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกรุ่นก่อนวางจำหน่ายในท้องตลาด และหากเป็นถุงยางอนามัยที่มีกรรมวิธีการผลิตใหม่ต้องมีการทดสอบคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หากพบว่าถุงยางอนามัยรุ่นใดไม่เข้ามาตรฐาน ผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะไม่สามารถวางจำหน่ายได้

ประชาชนควรเลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีเลขใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ซึ่งรับรองจาก อย. ไม่ควรซื้อถุงยางอนามัยมาเก็บไว้นานๆ และควรสังเกตดูวันหมดอายุก่อนซื้อ ควรเก็บถุงยางอนามัย ในที่แห้ง เย็น ไม่ถูกแสงแดดหรือแสงฟลูออเรสเซนต์ ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยไว้ในช่องเก็บของรถยนต์ซึ่งมีอุณหภูมิสูง ในตอนกลางวัน กระเป๋าใส่ธนบัตร หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะการกดทับจะทำให้ถุงยางอนามัยมีรอยรั่วหรือฉีกขาดได้ นอกจากนี้ควรเลือกใช้สารหล่อลื่นที่ละลายในน้ำหรือซิลิโคนออยล์ (silicone oil) เช่น เค-วาย เจลลี่ , คิว-ซี เจลลี่,ดูราเจลหรือกลีเซอรีน ไม่ควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชหรือน้ำมันแร่ เช่น เบบี้ออยล์, น้ำมันทาผิว,ปิโตรเลียม เจลลี (petroleum jelly), น้ำมันปรุงอาหาร และน้ำมันชนิดอื่นๆ เนื่องจากจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมสภาพแตกขาดง่าย ทำให้ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดได้

ประโยชน์ของถุงยางอนามัยมีดังนี้

  • คุมกำเนิด
    หน้าที่ของถุงยางอนามัยคือการป้องกันไม่ให้อสุจิเล็ดลอดเข้าไปในบริเวณช่องคลอดได้ ซึ่งการสวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้มีโอกาสคุมกำเนิดได้มากขึ้น เมื่อมีการสวมถุงยางอนามัยที่ถูกวิธี ดังนั้นควรสวมถุงยางตลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ และสังเกตให้ดีก่อนว่าถุงยางอนามัยที่สวมอยู่นั้นรั่วหรือชำรุดหรือไม่
  • ป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
    นอกเหนือจากการป้องการการตั้งครรภ์แล้ว ถุงยางอนามัยยังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ เช่น โรคเอดส์ กามโรค หนองใน ซิฟิลิส เป็นต้น เพราะการรติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรงของสารคัดหลั่งและอวัยวะเพศ ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสได้ง่าย
  • ลดการบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์
    ถุงยางอนามัยมีส่วนผสมของสารหล่อลื่นในปริมาณที่พอเหมาะ เมื่อใช้ขณะมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลดโอกาสบาดเจ็บของอีกฝ่ายได้ ทั้งนี้ถุงยางอนามัยสามารถใช้ร่วมกับสารหล่อลื่นได้อีกด้วย
  • ช่วยเพิ่มอรรถรสทางเพศได้
    ถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ ผิวขรุขระ มีสี มีกลิ่น ให้เลือกใช้งานได้ตามรสนิยมของผู้ใช้งาน จึงทำให้ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย

  • ขนาดของถุงยางอนามัย
    ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2535 เรื่องคุณภาพของถุงยางอนามัยที่ทำจากยางธรรมชาติมีอยู่ 13 ขนาด คือตั้งแต่ 44-56 มิลลิเมตร โดยวัดจากความกว้างของถุงยางที่คลี่แบนราบกับพื้น แต่โดยทั่วไปจะมีจำหน่ายเพียง 2 ขนาดคือ 49 และ 52 มิลลิเมตร การวัดขนาดให้เหมาะสมกับถุงยางอนามัย ให้วัดรอบวงของอวัยวะเพศขณะแข็งตัวเต็มที่เป็นหน่วยมิลลิเมตร และนำไปหารด้วย 2 จะได้เป็นขนาดของถุงยางอนามัยที่เหมาะสม
  • ห้ามใช้น้ำมันหรือโลชั่นเป็นสารหล่อลื่น
    การใช้สารหล่อลื่นอื่นๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว โลชั่น เบบี้ออยส์ วาสลีน สบู่เหลว ที่ไม่ใช่เจลหล่อลื่นจะทำให้ถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาดได้ง่ายในขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการใช้ถุงยางอนามัยได้ ดังนั้นควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของซิลิโคนเท่านั้น
  • ถุงยางอนามัยมีวันหมดอายุ
    สำหรับใครที่ได้รับถุงยางอนามัยแจกฟรี หรือถุงยางอนามัยมีถุงยางอนามัยที่ซื้อมาแล้วเก็บไว้เป็นเวลานาน ควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาใช้งานทุกครั้ง เนื่องจากสารหล่อลื่นที่อยู่ในซองถุงยางอนามัยนั้นอาจเสื่อมสภาพหรือหมดอายุไปแล้ว เมื่อนำมาใช้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือถุงยางอนามัยชำรุดได้
  • บีบไล่อากาศที่ปลายถุงยางก่อนใส่ทุกครั้ง
    ก่อนสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งควรบีบไล่อากาศออกก่อน เพราะอากาศที่อยู่บริเวณปลายถุงยางอาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกหรือฉีกขาดได้ง่าย
  • สวมถุงยางอนามัยให้ถูกด้าน
    เมื่อฉีกถุงยางอนามัยออกมาจากซองแล้ว ให้หันด้านที่มีกระเปาะตรงส่วนหัวออกด้านนอก และสวมลงบนอวัยวะเพศที่แข็งตัวอยู่ ถ้าสวมถูกด้านจะสามารถรูดถุงยางอนามัยลงได้ง่าย

ประชาชนทั่วไปสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร โทรศัพท์ 045-496000 หรือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง

โน้ตบุ๊ก กับท่านั่งทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง Office syndrome

ปัจจุบันนี้มีการใช้โน้ตบุ๊กกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวกสบายที่โน้ตบุ๊กเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำพาไปได้เกือบทุกที่ อีกทั้งประสิทธิภาพของโน้ตบุ๊กก็ไม่ด้อยไปกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และเทคโนโลยียุคปัจจุบันยิ่งสนับสนุนให้มีการใช้โน้ตบุ๊กมากขึ้น

วิธีแก้ไขให้โน้ตบุ๊กให้ได้ท่าทางการทำงานที่ถูก

จากการที่โน้ตบุ๊กเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระยะสั้นๆ แต่หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้โน้ตบุ๊กเป็นระยะเวลานานๆ หรือใช้แทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสามารถทำได้ ดังนี้

  1.  หาแป้นพิมพ์และเมาส์มาใช้เพิ่ม และวางโน้ตบุ๊กบนหนังสือหรือเก้าอี้เล็กๆ ให้สูงขึ้นมาจากโต๊ะจนกระทั่งขอบบนของจออยู่ที่แนวการมองของตาเมื่อมองไปตรงๆ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุดแต่นั่นหมายความว่าขนาดของจอโน้ตบุ๊กต้องใหญ่พอสมควร
  2. หากจอโน้ตบุ๊กมีขนาดเล็ก วิธีแก้ไขก็คือใช้โน้ตบุ๊กต่อกับจอภายนอก โดยให้ปรับระดับของจอตามตำแหน่งที่ต้องการเหมือนกับจอคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป แล้วใช้แป้นพิมพ์จากตัวโน้ตบุ๊ก แต่แป้นพิมพ์ต้องปรับให้เอียงลาดเล็กน้อยเพื่อให้ข้อมือไม่งองุ้มและถูกกด
  3. การจัดที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือ ใช้โน้ตบุ๊กโดยต่อกับจอ แป้นพิมพ์ และเมาส์ภายนอก นั่นหมายถึงเราสามารถปรับทุกอย่างได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยใช้ตัวซีพียูของโน้ตบุ๊ก ทำให้ทำงานในลักษณะท่าทางที่เหมาะสมได้ ขณะเดียวกันก็สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่ต้องโอนถ่ายข้อมูล เมื่อต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงาน
  4. คำแนะนำจาก OSHA (the Occupational Safety and Health Administration) องค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานของสหรัฐอเมริกา คำแนะนำจาก OSHA นี้ให้ใช้อุปกรณ์เสริมในลักษณะเอียงประมาณ 30 องศา สำหรับวางโน้ตบุ๊ก ทำให้แป้นพิมพ์เอียงตัวขึ้น จอสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ให้ปรับการนั่งเก้าอี้ให้เอียงไปด้านหลัง ซึ่งมีผลต่อระดับการมองทำให้ไม่ต้องก้มศีรษะ แขนและข้อมือ ไม่มีการกด การบิดและการเอียงของข้อมือมากนัก ขณะเดียวกันหลังพักอยู่เบาะแรงกดต่อหมอนรองกระดูกก็ลดลง

อย่างไรก็ตาม พึงระลึกเสมอว่าโน้ตบุ๊กเหมาะสำหรับการใช้ชั่วคราว ใช้เมื่อทำงานนอกสถานที่หรือเปลี่ยนที่ทำงานบ่อย ดังนั้น ไม่ควรใช้โน้ตบุ๊กต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

ที่มา : สสส.

แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 2561

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้วัณโรคเป็นปัญหาฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าปัญหาที่สำคัญสามประเด็นของวัณโรคคือ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่มีจำนวนมากและมีแนวโน้มจำนวนลดลงช้ากว่าที่จะทำให้สามารถควบคุมวัณโรคได้ในระยะเวลาอันใกล้ ประเด็นถัดมาคือวัณโรคในผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ที่ทำให้การดูแลรักษายากลำบากมากขึ้น และประเด็นสุดท้ายคือวัณโรคดื้อยาหลายขนาดที่จำนวนผู้ป่วยมากขึ้นและการรักษาด้วยระบบยาแนวที่สองมีผลสำเร็จที่ต่ำอีกทั้งมีราคาสูง องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรครุนแรงทั้งสามด้าน

ด้วยแนวโน้มของการดูแลรักษาวัณโรคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาในการวินิจฉัยวัณโรคและการดื้อยาของเชื้อวัณโรค รวมถึงการเข้าถึงการรักษาที่ใช้ยารักษาตัวใหม่และสูตรยาใหม่เพื่อเพิ่มอัตราการหายและลดอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรคตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ กรมการแพทย์จึงได้จัดทำคำแนะนำในการดูแลรักษาวัณโรคขึ้นใหม่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ได้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย และหวังว่าคำแนะนำนี้จะทำให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและหายใจวัณโรค ส่งผลให้การควบคุมวัณโรคประสบความสำเร็จจนไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขต่อไป

แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย 2561 สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

Download “แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย”

Thai-TB-Guidelines-2018-with-cover.pdf – Downloaded 15679 times – 3.22 MB

ที่มา : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

ตรวจสุขภาพ สำคัญกับทุกวัย (HealthCheckup) – ค้นหาการตรวจสุขภาพที่เหมาะกับคุณ

การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสุขภาพ มีประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค แต่ทั้งนี้การส่งเสริมการตรวจสุขภาพที่เกินจำเป็นและไม่สมเหตุผล ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและสังคม และในขณะเดียวกันประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจหรือเข้าไม่ถึงบริการ รวมทั้งการจัดการให้บริการมีความแตกต่างกัน

การจัดทำแนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน มีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ร่วมกับองค์กรสภาวิชาชีพด้านสุขภาพสถาบันวิชาการ หน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมดำเนินการจัดทำด้วยกระบวนการทางวิชาการ อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความเป็นปัจจุบัน ผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและปรับแก้เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางที่เหมาะสมตามบริบทของประเทศไทย

โดยในเว็บ Health Checkup จัดทำขึ้นโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีบริการ

ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่

Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน”

on2jzU – Downloaded 1393 times –

Download “เเนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับหญิงมีครรภ์”

Y5W2tZ – Downloaded 574 times –

Download “ชุดความรู้การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน”

a8te2a – Downloaded 679 times –

ที่มาHealth Checkup (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
หรือสนใจติดต่อสอบถามการตรวจสุขภาพได้ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (045-496000, 045-496058)