Category Archives: เรื่องเล่าจากคนทำงานสุขภาพ

บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 มีผลบังคับใช้ 11 พฤศจิกายนนี้แล้ว

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ออกประกาศ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ให้ยกเลิกประกาศ คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 และให้ใช้รายการยาในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

บัดนี้ ราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฉบับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 255 ง หน้า 1 พร้อมเอกสารแนบท้ายประกาศ ขอเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจศึกษารายละเอียด /download เอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่ …
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (www.mratchakitcha.soc.go.th) เว็บไซต์บัญชียาหลักแห่งชาติ (http://nlem.in.th) รวมทั้งที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (http://dmsic.moph.go.th) ในส่วนของบริการ download หรือกดที่ link ต่อไปนี้

ที่มา:

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
เว็บไซต์บัญชียาหลักแห่งชาติ

[บทความ] หยุดยุงลาย พาหะนำ 3 โรคร้าย โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย(ชิคุนกุนยา) และโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา

ยุงลาย

Aedes หรือยุงลาย เป็นสกุลของยุงที่เดิมพบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน แต่ปัจจุบันพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กิจกรรมของมนุษย์เป็นสาเหตุทำให้ยุงลายบางสปีชีส์แพร่กระจาย Meigen อธิบายและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1818 ยุงในสกุลนี้มีกว่า 700 สปีชีส์ ยุงลายบางสปีชีส์ส่งผ่านโรคร้ายแรง รวมถึงไข้เด็งกีและไข้เหลือง

บทบาทในการก่อโรค

ยุงลายเป็นพาหะที่ทราบของโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิด สองสปีชีส์ที่โดดเด่นที่สุดที่ส่งผ่านไวรัส คือ Aedes aegypti และ Aedes albopictus ซึ่งส่งผ่านไวรัสที่ก่อโรคไข้เด็งกี ไข้เหลือง ไข้ไนล์ตะวันตก ชิคุนกุนยา และสมองอักเสบม้าตะวันออก เป็นต้น การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้มักมีอาการไข้ และสมองอักเสบในบางกรณีซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้เหลือง และมาตรการเพื่อป้องกันยุงกัดรวมถึง ยาฆ่าแมลง เครื่องดักยุง สารขับไล่แมลงและมุ้ง

สถานที่เพาะพันธ์ยุงลาย

ยุงลายจะวางไข่ในภาชนะที่มีขอบ มีผนัง เนื่องจากแม่ยุงลายเวลาวางไข่ต้องมีผนังไว้เดินไต่ และวางไข่เหนือผิวน้ำประมาณ 1 เซนติเมตร ยุงลายจึงไข่เหนือน้ำ ไม่ได้ไข่ในน้ำเหมือนยุงชนิดอื่น ห้วยหนองที่มีน้ำขังตามธรรมชาติจึงไม่ใช่แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายจะวางไข่ในน้ำใส น้ำนิ่ง หากมีถังน้ำที่ไม่มีฝาปิด ให้ใช้วิธีเปิดน้ำให้หยดติ๋งๆ ตลอดเวลา น้ำจะกระเพื่อม ทำให้ยุงลายไม่มาวางไข่ ส่วนลูกน้ำที่พบในน้ำเน่า ในคู ที่เรามักตักมาเลี้ยงปลากัดนั้น ส่วนใหญ่เป็นลูกน้ำยุงรำคาญ ไม่ใช่ลูกน้ำยุงลาย

ยุงลายชอบวางไข่ในภาชนะที่มีสีมืดเข้มหรือที่มีรูพรุน ผิวขรุขระ จึงควรเลือกภาชนะเก็บน้ำที่มีสีอ่อนๆ ในห้องน้ำควรใช้ถังพลาสติกเก็บน้ำแทนที่เก็บน้ำแบบซีเมนต์ หากระดับน้ำในภาชนะเหลือน้อย ส่วนใหญ่ไม่ถึงศอกและมีเงามืด ยุงลายจะชอบ สังเกตได้ว่าหากน้ำลึกเกิน 1 เมตรจะมียุงวางไข่น้อยมาก ยิ่งถ้าใส่น้ำให้เต็มปริ่มขอบก็จะไม่มียุงมาวางไข่เลย แม่ยุงลายเวลาไข่สุกจะหนักท้อง จึงชอบวางไข่ในที่ต่ำๆ มืดๆ หลักการควบคุมลูกน้ำยุงลายคือ จะทำอย่างไรให้มีน้ำขังน้อยที่สุด เช่น หากน้ำที่บ้านไหลสม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องเก็บน้ำ เก็บสิ่งของเหลือใช้ที่อยู่บริเวณบ้าน ก็จะไม่มีที่ให้น้ำขัง ลดภาชนะที่ไม่จำเป็นภายในบ้าน เช่น แจกันหรือที่ใส่น้ำเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ที่วางอยู่นอกบ้าน ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น

ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ในบ้าน มีเหยื่อให้ดูดเลือดอยู่แล้ว และยังมีที่ให้วางไข่ ที่ให้เกาะพักอีกด้วย จึงไม่จำเป็นจะต้องบินไปหากินไกลๆ ยุงลายชอบเกาะพักในที่มืด อับชื้น และมักจะกลัวแดดกลัวลม จะไม่บินไปวางไข่หรือกัดคนกลางแจ้งเด็ดขาด ภาชนะที่วางกลางแดด กลางแจ้งจะไม่เป็นที่วางไข่ของยุงลาย การจัดบ้านให้สว่าง โล่ง โปร่ง ลมพัดดี ก็จะทำให้ยุงลายไม่มากัดคนในบ้าน

ปิดท้ายด้วยวงจรชีวิตของยุงลายที่ฟังแล้วจะต้องทึ่ง ไข่ยุงลายที่แห้งอยู่นานเป็นปี เมื่อนำมาแช่น้ำเพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็จะฟักตัวเป็นลูกน้ำทันที จากลูกน้ำกลายเป็นตัวโม่ง จากตัวโม่งกลายเป็นยุง ใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ก่อนที่ลูกน้ำจะกลายเป็นยุง ยุงลายตัวผู้มีอายุประมาณ 7 วัน เกิดมาเพื่อผสมพันธุ์เท่านั้น ส่วนตัวเมียมีอายุประมาณ 45 วัน วางไข่ทุก 3-4 วัน ซึ่งก่อนวางไข่จะต้องดูดเลือดก่อน ยุงลายวางไข่ครั้งละประมาณ 80 -100 ฟอง ดังนั้นตลอดอายุขัยของยุงลายตัวเมียจะวางไข่ได้ประมาณ 1,000 กว่าฟอง การกำจัดยุงลายตอนเป็นลูกน้ำ จึงดีที่สุดและง่ายที่สุด คุ้มค่ากว่าการใช้สารเคมีพ่นตัวยุง ที่ทำได้ยากกว่ามาก เพราะเมื่อยุงได้กลิ่นก็จะบินหนี ไม่อยู่ให้ถูกฆ่า ถูกกำจัด

3 โรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากรทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1 คน

การติดต่อโรคไข้เลือดออก

ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก สามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด

อาการโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจเป็นโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา

การรักษาโรคไข้เลือดออก

เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก

ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอลชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทานตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
การป้องกัน

แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลงซึ่งทำได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย พบได้ในทุกอายุ รวมทั้งทารกในครรภ์เมื่อมารดาติดเชื้อไวรัสนี้ (พบได้น้อย) ไปจนถึงผู้สูงอายุ และโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย

โรคไข้ปวดข้อยุงลายเกิดได้อย่างไร

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อ โดยยุงลายกัด และดูดเลือดคนที่เป็นโรค ในช่วงที่มีเชื้ออยู่ในเลือด คือ ช่วงมีไข้ เมื่อไวรัสเข้าสู่ยุง ไวรัสจะเจริญแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคน ไวรัสจากยุงจะเข้าสู่กระแสเลือดคน ก่อการติดโรค วนเวียนเป็นวงจรของการติดต่อ และของการระบาด

โรคไข้ปวดข้อยุงลายมีอาการอย่างไร

อาการของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นอาการเฉียบพลัน เกิดภายหลังได้รับเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ประมาณ 1-12 วัน (ระยะฟักตัวของโรค) ส่วนใหญ่ประมาณ 2-5 วัน โดยมีอาการหลัก คือ

  • มีไข้ ไข้สูงทันที (อุณหภูมิมักสูงถึง 40 องศาเซลเซียส) แต่บางคนอาจมีไข้ต่ำได้
  • ปวดกล้ามเนื้อ และปวดข้อมาก ทยอยปวดทีละข้อ ซึ่งปวดได้หลายข้อ มักเป็นกับข้อเล็กๆ เกิดทั้งข้อด้านซ้ายและด้านขวา
  • มีผื่นแดงคล้ายไข้เลือดออกขึ้นในบริเวณลำตัว แต่บางครั้งอาจพบที่แขน ขา ได้ด้วย
  • ปวดศีรษะ ปวดตา ตาแดง ตากลัวแสง (เห้นแสงสว่างแล้วน้ำตาไหล) แต่ไม่มาก และอ่อนเพลีย

โดยทั่วไป จะมีไข้อยู่ประมาณ 2 วัน แล้วไข้ลงทันที แต่อาการอื่นๆจะคงอยู่ต่ออีกประ มาณ 5-7 วัน โดยเฉพาะอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ อาจเป็นอยู่นานเป็นเดือน หรือ บางคนเป็นปี หรือ หลาย ๆ ปี

ป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายอย่างไร

ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา) ดังนั้น วิธีป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือ การป้องกันยุงกัด และการกำจัดยุง

  • การป้องกันยุงกัด เช่น ในถิ่นระบาด ควรสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว การทายากันยุง ใช้ยาไล่ยุง ใช้มุ้งกับเด็กๆที่นอนในบ้านถึงแม้เป็นช่วงกลางวัน
  • การกำจัดยุง ต้องร่วมมือกันทั้งในครอบครัวและในแหล่งชุมชน และต้องปฏิบัติสม่ำ เสมอตลอดไป โดยเพิ่มความเข้มในช่วงหน้าฝน และหลังฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงยุงวางไข่ ด้วยวิธี การตามคำแนะนำของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และของกระ ทรวงสาธารณสุข เช่น กำจัด หรือ คว่ำภาชนะทุกชนิดที่ก่อให้เกิดน้ำขัง ทั้งในบ้าน นอกบ้าน และในชุมชน การเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้/กระถาง ทุก 7 วันเพื่อกำจัดลูกน้ำ ไม่รดน้ำต้นไม้มากจนก่อให้เกิดน้ำขัง จัดสวน หรือ ปลูกต้นไม้ให้โปร่ง แสงแดดส่องถึง และการกักเก็บน้ำบริโภคต้องปิดฝามิดชิด ป้องกันยุงวางไข่ เป็นต้น
โรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease)

โรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease)

โรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาคืออะไร

ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

อาการของโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease)

ระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease) ตั้งแต่รับเชื้อกระทั่งแสดงอาการใช้เวลาประมาณ 3-12 วัน(เฉลี่ย 4-7 วัน) อาการที่พบบ่อย ได้แก่มีไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้ออ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายใน 2-7 วัน ได้เอง ยกเว้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้ทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (Microcephaly) ในทารกแรกเกิด หรือผู้มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท

ติดเชื้อโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease) ได้จากไหนบ้าง

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา(Zika Virus Disease) สามารถติดต่อได้ทางช่องทางหลัก โดยการถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกา Zika Virus Disease กัด ส่วนช่องทางอื่นๆ ที่สามารถเป็นไปได้คือการแพร่ผ่านทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด หรือจากแม่ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิกาสู่ทารกในครรภ์ส่วนการแพร่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์นั้นยังมีรายงานเป็นจำนวนน้อย จึงควรป้องกันการถูกยุงลายกัดเป็นหลัก

การวินิจฉัยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease)

ทำได้โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) และการแยกเชื้อไวรัสจากตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ ของผู้ป่วย

การป้องกันโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus Disease)

  • ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนในมุ้งและทายากันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำและยุงลายตัวแก่
  • หากป่วยด้วยอาการไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะรุนแรงให้ไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง (ถ้ามี)
  • สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์และป้องกันไม่ให้ยุงกัด

สื่อประชาสัมพันธ์

 

 

ที่มา/อ้างอิง

ไม่รู้จักไม่ได้แล้ว คลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster)

การพัฒนาPrimary care cluster เป็นก้าวที่ต่อเนื่องจากนโยบาย“หมอประจำครอบครัว” ซึ่งได้ จัดทีมหมอครอบครัว 1 ทีม ให้การดูแลประชากรประมาณ 10,000 คน จึงกำหนดให้ Primary care cluster 1 Cluster ประกอบด้วยทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 3 ทีม ให้การดูแลรับผิดชอบประชากรประมาณ 30,000 คน เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายการดูแลร่วมกันในกลุ่มสหวิชาชีพ สามารถบริหารจัดการให้เกิดการ หมุนเวียนของทรัพยากรภายในกลุ่มเครือข่ายให้ดำเนินการดูแลประชากรที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของ คลินิกหมอครอบครัว (Primary care cluster)

หมายถึง การรวมกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิให้เป็นเครือข่ายการดูแลประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบร่วมกัน เป็นการประจำต่อเนื่อง ด้วยทีมสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันและให้มีการบริหารจัดการ ใช้ทรัพยากรร่วมกันในกลุ่มปฐมภูมินั้นๆ ทั้งนี้อาจเป็นการรวมกลุ่มหน่วยบริการเดิมหรือจัดตั้งหน่วยบริการใหม่เสริม เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน

องค์ประกอบของหน่วยเครือข่าย

หน่วยบริการปฐมภูมิในการจัดหน่วยบริการให้ยึดจำนวนประชากรเป็นหลัก 1 Clusterโดย สามารถประกอบด้วย 1-3 ศูนย์ขึ้นกับบริบทของพื้นที่(ให้ยึดเป้าหมายการเข้าถึงบริการเป็นสำคัญ) ใน กรณีที่สำคัญ เขตที่ตั้งของโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป สามารถจัดบริการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คลินิกเอกชนได้ หรือในพื้นที่ประชากรเบาบางอาจมีการจัดบริการร่วมระหว่างศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลแม่ข่ายกับพื้นที่ดูแลของสาธารณสุขอำเภอ คือ รพ.สต. ในเครือข่ายก็ได้

PCC_ST-001 PCC_ST-002 PCC_ST-003

บทบาทหน้าที่

  • เป็นหมอครอบครัว ที่ให้การดูแลใกล้ชิดกับประชาชน โดยยึดหลักการ “บริการทุกคน ทุกที่ ทุกอย่างด้วยเทคโนโลยี”
  • เป็นทีมที่ดูแลรับผิดชอบสุขภาพ ร่วมกันทั้งด้า การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค ฟื้นฟูสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคที่ดูแล “คน” เป็นองค์รวมไม่ใช่ทำเป็นกิจกรรมหรืองาน
  • ใช้หลักการเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลความเจ็บป่วย (Illness) มากกว่าดูแลเฉพาะโรค(Disease)
  • การประชาสัมพันธ์ แนะน าและสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ
  • การจัดระบบข้อมูล ช่องทางการสื่อสาร และออกแบบการจัดบริการร่วมกัน
  • ทีมสหวิชาชีพ ควรได้มีการประชุม วางแผน ให้บริการและติดตามประเมินผล สถานการณ์ของงาน และสุขภาพของประชาชนร่วมกัน
  • ทำงานร่วมกับชุมชน โดยใช้ทรัพยากรและศักยภาพของชุมชนในการดูแลสุขภาพประชาชนใน พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในการดำเนินการของกลุ่มหน่วยปฐมภูมิ (Cluster) ให้ ดำเนินการจัดบริการเป็นภาพรวมยึดหลักการ ดูแลตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว สร้างการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จ าเป็นและสร้างความเข้าใจให้กับ ประชาชนและชุมชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของนโยบายนี้

ความแตกต่างจาก ศูนย์สุขภาพเดิม หรือ รพ.สต. เดิม

คลินิกหมอครอบครัวก็คือต่อยอด ให้มี แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว และทีม ที่ มีความครบถ้วนมากขึ้น เรียกได้ว่ายกระดับ ศูนย์สุขภาพเดิม หรือ รพ.สต.เดิม ให้เป็นระดับพรีเมี่ยม และปรับระบบการดูแลสุขภาพเป็นการร่วมกันระหว่าง ประชาชนกับทีมหมอครอบครัว ช่วยกันดูแลสุขภาพด้วยระบบเวชศาสตร์ครอบครัวต่อเนื่อง ที่มีหมอประจำครอบครัวเป็นหมอคนแรก

ดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download “แนวทางการดำเนินงาน Primary Care Cluster สำหรับหน่วยบริการ” Guidelines%20PCC.pdf – Downloaded 4392 times – 1.23 MB Download “รายละเอียด แนวทางการดำเนินงาน” primary%20care%20cluster_guide%20%28pcc%29.pdf – Downloaded 2515 times – 30.71 MB

ที่มา/ข้อมูลอ้างอิง:

มารู้จักมาตรฐานรหัสการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (LOINC)

LOINC (Logical Observation Identifiers Names and Codes) เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐาน (Standard name and coding system) สากลที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (medical laboratory) และการตรวจทางคลินิก (clinical observation) เปรียบเหมือนกับภาษาที่ทำให้ระบบข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory Information Systems) และระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records) ต่างระบบกัน สามารถสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิก ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Interoperability)

การที่ระบบข้อมูลสุขภาพ (Health Information Systems) จะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ ต้องอาศัยมาตรฐานข้อมูลสุขภาพหลายชนิด ซึ่ง LOINC เป็นมาตรฐานข้อมูลสุขภาพมาตรฐานหนึ่งที่สำคัญ และจำเป็นในการที่จะทำให้ระบบข้อมูลสุขภาพระบบต่างๆสามารถทำงานร่วมกัน

ที่มาของ LOINC

LOINC เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐานที่สถาบันรีเกนสทรีฟ (Regenstrief Institute) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ก่อตั้งโดยไม่แสวงหากำไร และทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอินดีแอนา (Indiana University) มลรัฐอินดีแอนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1994 สืบเนื่องจากในมลรัฐอินดีแอนาขณะนั้น แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจะสามารถรับส่งข้อมูลห้องปฏิบัติการและข้อมูลการตรวจ ทางคลินิกผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์กันได้ แต่เนื่องจากแต่ละหน่วยงาน ต่างก็กำหนดรหัสและชื่อการตรวจของตนเอง (local names and codes) ทำให้ระบบข้อมูลสุขภาพของต่างหน่วยงานกันไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ จึงเกิดความต้องการที่จะให้ระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางคลินิกของ หน่วยงานและผู้ให้บริการทางการแพทย์ต่างระบบกันเข้าใจความหมาย (Semantics) ของการตรวจทางคลินิกชนิดต่างๆตรงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้ (Interoperable) ของระบบข้อมูล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดูแลคนไข้และการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ งานด้านระบาดวิทยา และสาธารณสุข

ฐานข้อมูลรหัส LOINC (LOINC database) เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันรีเกนสทรีฟ สถาบันฯ ยังคงพัฒนาปรับปรุงดูแลรักษารหัสอย่างต่อเนื่อง ฐานข้อมูลรหัส LOINC เวอร์ชัน 2.40 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดประกาศเมื่อวันที่ มิถุนายน 2555 ประกอบด้วยคำศัพท์ (terms/concepts) จำนวนมากกว่า 70,000 คำ แบ่งออกเป็น 4 หมวดหลัก (Classtype) ได้แก่

  1. Laboratory LOINC ครอบคลุมการตรวจทางเคมีคลินิก การตรวจทางโลหิตวิทยา การตรวจทางซีโรโลยี การตรวจทางจุลชีววิทยา การตรวจทางพิษวิทยา การตรวจระดับยา และการตรวจความไวของเชื้อโรคต่อยาปฏิชีวนะ และการตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการคลินิก
  2. Clinical LOINC ครอบคลุมการตรวจสัญญาณชีพ การตรวจพลวัตของระบบไหลเวียนเลือด (Hemodynamics) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) การตรวจอัลทราซาวด์ ซีทีสแกน (CT scan) เอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจด้วยกล้องที่ใส่เข้าไปในร่างกาย (Endoscopy) การตรวจและการวัดกลไกอันเกี่ยวกับการทำงานของระบบหายใจ (Pulmonary ventilation management) และการตรวจทางคลินิกอื่นๆ
  3. Claim attachment
  4. Survey (การวัดโดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสำรวจ Survey instrument)

ปัจจุบันมีกว่า 140 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ LOINC ในระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพทั้งในระดับองค์กร และในระดับชาติมีหลายประเทศประกาศใช้ LOINC เป็นรหัสการตรวจทางคลินิกของประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศจีน (เฉพาะฮ่องกง) เป็นต้น เพราะนอกจากระบบชื่อและรหัส LOINC จะมีความครอบคลุมการตรวจทางคลินิกเกือบทั้งหมดแล้ว สถาบันรีเกนสทรีฟยังเปิดให้ทั่วโลกใช้ฐานข้อมูลรหัส LOINC และโปรแกรมเครื่องมือที่ช่วยในการจับคู่ รหัส LOINC กับรหัสท้องถิ่น (Local code) ที่ชื่อ RELMA (Regenstrief LOINC Mapping Assistant) รวมถึงคู่มือและเอกสารต่างๆ ของสถาบันฯ โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างชื่อและรหัสได้เอง ต้องเสนอชื่อและรหัสการตรวจใหม่ที่ไม่มีในฐานข้อมูลให้คณะกรรมการ LOINC ของสถาบันรีเกนสทรีฟเป็นผู้ตรวจสอบ พิจารณาและประกาศอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อให้ชื่อและรหัส LOINC มีความเป็นเอกภาพ

องค์ประกอบของ LOINC

LOINC ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ รหัสและชื่อซึ่งรหัสประกอบด้วย serial code 1-5 หลักบวกกับหลักสุดท้ายเป็น check digit ชื่อมี 6 แกนสำคัญดังตารางนี้

ข้อดีของ LOINC

  1. มีความเป็นสากลครอบคลุมการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีในโลกเกือบทั้งหมด และออกแบบวิธีการกำหนดรหัสให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการตรวจใหม่ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต
  2. เป็นที่ยอมรับ ใช้กันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีกหลายประเทศ เช่น เยอรมัน สเปน อาร์เจนตินา สวิตเซอร์แลนด์ ขณะนี้มีรหัส Laboratory ประมาณ 45,895 รายการ, รหัส Clinical Observation ประมาณ 16,601 รายการ, รหัส Attachment 1,327 รายการ และรหัสแบบสำรวจ (Survey forms) 4,527 รายการ [LOINC version 2.38 December 2011]
  3. มีกระบวนการบำรุงรักษาฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีระบบสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และขยายเครือข่ายการร่วมพัฒนาออกไปในหลายประเทศ
  4. มีโปรแกรมช่วยเหลือในการจับคู่กับรหัสท้องถิ่น (mapping) ที่เรียกว่า RELMA (Regenstrief LOINC Mapping Assistant) สถาบันรีเกนสทรีฟแห่งสหรัฐอเมริกาจัดให้มีการอบรมสำหรับผู้สนใจอย่าง สม่ำเสมอปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ประเทศต่างๆสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมาเป็นวิทยากรอบรมใน ประเทศของตนได้ สำหรับประเทศไทยได้ติดต่อให้ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมาจัดการประชุมเชิง ปฎิบัติการในประเทศไทยในวันที่ 2 มีนาคม 2555
  5. สามารถนำ LOINC database และ RELMA ไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์

เหตุผลที่ประเทศไทยควรนำ LOINC มาใช้

จากรายงานผลการวิจัยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของการ พัฒนาอีเฮลท์ (eHealth) และระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของประเทศไทย ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการร่วมกับองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2553 พบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาบริการและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth applications and services) ค่อนข้างแพร่หลาย แต่เป็นการพัฒนาที่กระจัดกระจาย (fragmented) ขาดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน รวมถึงขาดการบูรณาการการพัฒนาร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญคือขาดการพัฒนาในระดับพื้นฐาน (foundations) ของระบบฯ อย่างรุนแรง ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

  1. การให้ความสำคัญระดับนโยบายและการกำกับดูแลในระดับประเทศ
  2. การพัฒนามาตรฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ
  3. การพัฒนากำลังคนด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบการศึกษาอบรมในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ เมื่อมองที่มุมของมาตรฐานข้อมูลสุขภาพแล้ว ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานข้อมูลสำหรับรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการ แพทย์ในระดับชาติ

ซึ่งผลการจับคู่คือ มากกว่า 80% สามารถจับคู่กับรหัส LOINC ได้ เป็น 1-1 23.58% 1-Many 63.07% และเมื่อแยกตามแหล่งรายการตรวจ พบว่าทั้งสองแหล่งจับคู่กับ LOINC ได้มากว่า 80% แต่รายการตรวจขอจังหวัดบุรีรัมย์จับคู่แบบ 1-1 ได้มากกว่ารายการตรวจของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้งานของทั้ง 2 แหล่งต่างกัน คือ

  1. รายการตรวจของกรมบัญชีกรมใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการในประเทศ
  2. รายการตรวจของจังหวัดบุรีรัมย์ใช้สำหรับการทำงานในห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์

LOINC เป็นระบบชื่อและรหัสมาตรฐานสากลที่ใช้ระบุชนิดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์และการตรวจทางคลินิก ซึ่งครอบคลุมการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เกือบทั้งหมดในโลก โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในนานาประเทศ และจากผลการศึกษาความครอบคลุมของรหัสมาตรฐาน LOINC กับชนิดของกลุ่มการตรวจในระบบข้อมูลของโรงพยาบาลในประเทศเยอรมันของ Martin Dugas พบว่า 88% ของชนิดของกลุ่มการตรวจสามารถจับคู่กับรหัสมาตรฐาน LOINC ได้ ซึ่งประเทศเยอรมันก็ได้นารหัสมาตรฐาน LOINC ไปใช้เป็นรหัสมาตรฐานของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในระดับชาติ

จากผลการจับคู่ของบัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของกรม บัญชีกลาง พบว่าสามารถจับคู่ได้ 81% และของบัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของระบบห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ 84.15% ซึ่งยังมีบางรายการที่ไม่สามารถจับคู่กับรหัสมาตรฐาน LOINC ได้ เนื่องจาก 4 สาเหตุหลักดังนี้

  1. ขอบเขตความรู้ทางการแพทย์ของผู้จับคู่รหัส ในกรณีที่ชื่อของรายการตรวจไม่ใช่ชื่อที่เป็นมาตรฐาน เช่น blood sugar ซึ่งต้องเป็นการตรวจ glucose ในเลือด
  2. การตั้งชื่อรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่น โดยใช้ภาษาไทย ซึ่งรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของกรมบัญชีกลางมีการใช้ภาษาไทย ในการตั้งชื่อรายการตรวจเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับรายการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการทางการแพทย์ของระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลใน จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ไม่สามารถจับคู่กับรหัส LOINC และเมื่อมีการแปลงรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากภาษาไทยเป็น ภาษาอังกฤษ ทำให้สามารถจับคู่ได้มากขึ้น แต่ไม่ทุกรายการ เพราะขอบเขตความรู้ทางการแพทย์ของผู้จับคู่รหัสที่จะแปลงชื่อรายการตรวจภาษา ไทยเป็นชื่อการตรวจภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐาน เช่น ทดสอบพยาธิวิทยาทางสมอง ซึ่งตัวผู้ทาการศึกษาไม่สามารถให้คำจำกัดความที่เป็นภาษาอังกฤษได้
  3. รายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ใช้อักษรหรือคำย่อที่ไม่เป็น มาตรฐานสากล เช่น Lap score ต้องเป็น Leukocyte Alkaline Phosphatase score และ OF test ต้องเป็น osmotic fragility test
  4. รายการตรวจที่ไม่ใช่การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น บริการตรวจทางจิตวิทยาทั้งหมด, ทดสอบเชาว์ปัญญา, ค่าบริการ, ผู้จ่ายเลือด และแพทย์ผู้ขอใช้รายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรายการที่ไม่สามารถจับคู่กับรหัส LOINC ได้ โดยที่กลุ่มการตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ จะมีรายการตรวจแบบดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

การที่มีการจับคู่แบบ 1-Many จำนวนมาก เป็นผลจากการที่บัญชีรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นมีความ ละเอียดของข้อมูลที่อธิบายคุณสมบัติการตรวจน้อยกว่ารหัสของ LOINC ซึ่งมีคุณสมบัติบ่งชี้ถึง 6 มิติ ได้แก่ สิ่งที่ต้องการตรวจ (component), หน่วยในการวัด (properties), เวลา (timing), สิ่งส่งตรวจ (system), รูปแบบการรายงานผล (scale) และวิธีที่ใช้ตรวจ (method) ส่วนบัญชีรายการตรวจของกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเบิกจ่ายทำให้ต้องกำหนดรายการตรวจด้วยชื่อที่ให้ ความหมายกว้างๆ และมีข้อมูลเพียงสองมิติ คือชื่อและรหัสของชนิดการตรวจ และบัญชีรายการตรวจของระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งใช้ในงานตรวจเชิงปฏิบัติการในโรงพยาบาลจึงมีชื่อที่มีความเฉพาะเจาะจง มากกว่าของรายการตรวจของกรมบัญชีกลาง และมีหน่วยในการวัดที่ทำให้ระบุความจาเพาะของรายการตรวจได้มากขึ้น จึงทำให้รหัสการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของบุรีรัมย์สามารถจับคู่ แบบ 1-1 ได้มากกว่าของรหัสการตรวจของกรมบัญชีกลาง ตัวอย่างของการจับคู่แบบ 1-Many แสดงในตารางที่ 6

 

จะเห็นได้ว่า การตรวจค่าฮีมาโตคริตจากรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่น สามารถจับคู่ได้กับการตรวจของ LOINC หลายรหัส เนื่องจากความละเอียดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นที่ น้อยกว่า ไม่ว่าจะวิธีการเก็บข้อมูลหรือตัวอย่างที่ใช้ตรวจ ซึ่งรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ท้องถิ่นไม่มี

ปัจจัยสำคัญอีกข้อของการไม่สามารถจับคู่รหัสการตรวจได้คือ ขอบเขตความรู้ของผู้จับคู่รหัสการตรวจ ทั้งนี้เพราะการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์หลายชนิดต้องใช้ความรู้ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งควรให้ผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางในแต่ละสาขาทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น โลหิตวิทยา, จุลชีววิทยา, รังสีวิทยา และสาขาอื่นๆ เป็นผู้ทาการจับคู่รหัสรายการตรวจจะทำให้เปอร์เซ็นต์ในการจับคู่สูงขึ้น และควรมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เป็นผู้ ตรวจสอบความถูกต้องในการจับคู่รหัสรายการตรวจเพื่อความถูกต้องยิ่งขึ้น

จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ท้องถิ่นกับรหัสมาตรฐาน LOINC ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่จับคู่สูงกว่า 80% ทำให้มีความน่าเชื่อถือได้ว่ารหัสมาตรฐาน LOINC สามารถนำมาปรับใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ความเป็นไปได้ที่จะเป็นข้อยืนยันได้ว่า เป็นข้อมูลเพื่อการสนับสนุนในการใช้เพื่อเบิกจ่ายทางด้านข้อมูลสุขภาพ

การเตรียมความพร้อมการนำรหัสมาตรฐาน LOINC ของจังหวัดอุบลราชธานี

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ได้พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลรหัสรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยรหัส LOINC เป็นจังหวัดแรก เพื่อก้าวสู่ AEC ซึ่งมีจัดประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

LOINC-20160526-01

ที่มา :

  1. ศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย
  2. Logical Observation Identifiers Names and Codes (LOINC®)

 

ไข้เลือดออกป้องกันได้ ด้วยมาตรการ 5ป 1ข

ไข้เลือดออกป้องกันได้ ด้วยมาตรการ 5ป 1ข

 

มาตรการ 5ป  ข ร่วมกับการป้องกันยุงและการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยด้วยการใช้ตะไคร้หอมกันยุง โดยขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนให้ดำเนินการ ดังนี้

กำจัดลูกน้ำด้วยมาตรการ 5ป 1ข คือ ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับ ปฏิบัติและขัดล้างไข่ยุงทุกสัปดาห์ ได้แก่

  1. ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
  2. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
  3. ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร
  4. ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
  5. ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และลงมือทำทันที

และมาตรการ 1 ข. คือ การขัดล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ ทั้งนี้ ยุงลายตัวเมีย 1 ตัวหลังผสมพันธุ์จะตั้งท้องและวางไข่ได้ตลอดชีวิตครั้งละประมาณ 100 ฟองมีชีวิตอยู่ประมาณ 1 เดือนไข่ยุงทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้นานหลายเดือนเมื่อไข่ถูกน้ำท่วมถึงจะฟักตัวกลายเป็นลูกน้ำอย่างรวดเร็วภายในเวลา 20 – 60 นาที

แนวทางการวินิฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ปี 2558

แนวทางการวินิฉัยและดูแลรักษาโรคไข้มาลาเรีย ปี 2558 โดยเอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ในสถานบริการต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย ได้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ หลังจากมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรียในประเทศไทย ที่มีผลสืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายยาและแนวทางการใช้ยารักษามาลาเรียของประเทศ ในปีงบประมาณ 2558

ดาวน์โหลดเอกสาร

แนวทางการักษา-ไข้มาลาเรียประเทศไทย-2558 (20718 downloads )

ทำไมในโรงพยาบาล “ห้ามถ่ายภาพ”

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและรวดเร็วจนคาดไม่ถึง โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นความลับของผู้ป่วย แต่ขณะนี้มักพบเห็นการสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น มีการถ่ายรูปผู้ป่วยระยะสุดท้ายพร้อมเขียนข้อความขอความช่วยเหลือ ส่งข้อความต้องการขอรับบริจาคเลือดโดยมีการระบุชื่อผู้ป่วย การแสดงผลฟิล์มเอกซเรย์ การถ่ายภาพภายในห้องของผู้ป่วย ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นต้น

ทั้งนี้ เชื่อว่าผู้ที่กระทำมีเจตนาที่ดี แต่ปัญหาคือการสื่อสารเช่นนี้แบบไหนถึงจะพอดี เพราะต้องเข้าใจว่าบางโรคผู้ป่วยก็ไม่อยากเปิดเผย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือหน้าที่การงาน ยิ่งไปกว่านั้นท่ามกลางความขัดแย้งในปัจจุบันอาจมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้โจมตีฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างได้ อย่างสื่อมวลชนกระแสหลักก็ต้องมีความระมัดระวัง เช่น กรณีรักษาการนายกรัฐมนตรี หรืออดีตนายกรัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุแค่ไหนจึงพอเหมาะพอควร ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ

ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ทั้งข้อมูลส่วนตัว สุขภาพ และการรักษา จะมีคนเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือ ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีคุณธรรมจริยธรรมจรรยาบรรณมากำกับ รักษาความลับของผู้ป่วย ส่วนข้อมูลผู้ป่วยที่อยู่ในระบบบริการต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย เพราะหากไม่ใส่ใจข้อมูลอาจหลุดได้ และคนทั่วไปที่รู้ข้อมูลโดยการมาเยี่ยมหรือมีคนส่งต่อมาให้ ย่อมมีโอกาสเอาข้อมูลไปกระจายทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจกระทบต่อคนไข้ สังคม ก่อเกิดความเกลียดชัง ปัญหาขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยสามารถทำได้ แต่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย ไม่ระบุชื่อผู้ป่วย

เรื่องข้อมูลสุขภาพต้องคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล 3 เรื่อง คือ

  1. หลักสากลซึ่งไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ
  2. รัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลไว้ชัดเจน และ
  3. หลักกฎหมาย ซึ่งมีระบุไว้หลายฉบับในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

และปัจจุบันกำลังมีการมีการยกร่างกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลด้วย แม้แต่วิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขก็มีการออกประกาศสิทธิผู้ป่วยไว้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ควรคำนึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของวิชาชีพมากกว่า เพราะหากนึกว่าเราเป็นผู้ป่วยเองเราจะยินยอมหรือไม่ เป็นลักษณะของใจเขาใจเรา

สำหรับหลักจริยธรรมด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์จะมี 4 เรื่องคือ

  1. อิสระของผู้ป่วย คือผู้ป่วยมีสิทธิของเขา ผู้ปฏิบัติวิชาชีพต้องระวัง มิใช่ว่ามีข้อมูลของผู้ป่วยแล้วจะเอาไปทำอะไรก็ได้ ผู้ป่วยมีสิทธิพิทักษ์รักษา
  2. ประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย
  3. ไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วยจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และ
  4. หลักการยุติธรรม ดูความเท่าเทียมเสมอภาค
[note note_color=”#ee0518″ text_color=”#0d0a0a”]หากผู้ป่วยถูกละเมิด ผู้ป่วยและญาติสามารถฟ้องได้ตามมาตรา 7 โดยผู้ละเมิดมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[/note]

ส่วนกฎหมายใหม่ที่กำลังยกร่างก็ต้องทำการฟ้องเช่นกัน ทั้งนี้ ในยกร่างกฎหมายใหม่คงไม่มีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย เพราะสังคมมีความสลับซับซ้อน มีการกระทำเช่นนี้เป็นจำนวนมาก จึงมีการเสนอว่าต้องให้ความรู้แก่ประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบในเรื่องนี้

สำหรับหน้าที่สื่อมวลชน โดยเฉพาะกรณีการตามบุคคลสำคัญ บุคคลสาธาณะเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยก็ต้องคำนึงว่ารูปควรนำไปใช้แค่ไหน เพราะเป็นการมาสื่อสารหน้าที่ของผู้นำ ไม่ใช่สื่อสารความลับของผู้ป่วย ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ควรเข้าไปในห้องผู้ป่วย เรื่องนี้ควรมีการทำความเข้าใจและสร้างระบบให้ชัดเจน ซึ่งจริงๆ แล้วโรงพยาบาลก็มีกฎห้ามถ่ายรูปอยู่แล้ว แต่กรณีมากับบุคคลสำคัญอาจจะห้ามไม่ทัน

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าในเขตโรงพยาบาลทำไมต้องห้ามถ่ายภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจึงไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปผู้ป่วยหรืออาคารสถานที่ในโรงพยาบาล ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลนั้นๆก่อน และผู้ป่วยหรือผู้มีอำนาจแทนผู้ป่วยจะยินยอมเท่านั้น

ที่มา:

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) คืออะไร ?

รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสำคัญที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพภาครัฐให้เป็นเอกภาพ ประชาชนในทุกระบบหลักประกันสุขภาพได้รับสิทธิประโยชน์หลักเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาว (Long term health financing) ให้มีประสิทธิภาพ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แต่รัฐไม่มีกลไกระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากยังไม่มีบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานระดับประเทศที่สามารถตอบสนองระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาและการรักษาพยาบาลได้หลายระบบงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับยาของกองทุนประกันสุขภาพของประเทศทั้ง 3 กองทุน คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ที่มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน จึงให้มีการดำเนินการพัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดยอ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย

ความหมาย

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย คือ บัญชีข้อมูลรายการยาที่มีใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลมาตรฐานด้านยา 3 ส่วน ดังนี้

  1. คำจำกัดความมาตรฐานของยาแต่ละตัว (Term/Name) ได้แก่ คำจำกัดความมาตรฐานที่เกี่ยวกับสารเคมีของตัวยา (substance), ชื่อสามัญ (Generic), ชื่อการค้า (Trade name), dose form, strength, unit of measure, และ pack size
  2. รหัสที่ชี้เฉพาะ (Uniquely identify) ไปที่คำจำกัดความมาตรฐานของแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว
  3. ความสัมพันธ์ (Relationships) ระหว่างแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว ที่สามารถบ่งชี้ ถึงความสัมพันธ์ของ concept ต่างๆของยาแต่ละตัว เช่น synonym concept, substance concept, trade product concept เป็นต้น

Dictionary ของ data Model ที่ใช้ในรหัสยามาตรฐาน TMT

ประโยชน์ของการมีบัญชีข้อมูลและรหัสยามาตรฐาน

  1. สามารถใช้งานได้หลายระบบงาน
    • ใช้ในระบบข้อมูลการบริหารจัดการ (administration) ด้านยา ควบคุมการใช้ยาให้เหมาะสมได้ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร (กองทุนประกันสุขภาพ,โรงพยาบาล) เช่น การติดตามกำกับดูแลค่าใช้จ่ายด้านยา บริหารจัดการสินค้าคงคลัง (inventory) เป็นต้น
    • ใช้ในระบบข้อมูลการให้บริการของผู้ให้บริการ (Health Care Services) เช่น การสั่งยา (drug prescription) การจ่ายยา (drug dispensing) การบริหารยาให้กับผู้ป่วย (drug administration) ทำให้ระบบการบริการสุขภาพมีความปลอดภัยมากขึ้น
    • สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทั้งด้านบริหารจัดการ (Executive and Management Decision support) และระบบการตัดสินใจทางคลินิก (Clinical decision support)
    • ใช้ในระบบข้อมูลทางสาธารณสุข (Public Health) เช่น ระบบข้อมูลด้านระบาดวิทยาและการติดตาม/ประเมินการใช้ยา (drug utilization) ภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา (Adverse Drug Reaction-ADR) ภาวะดื้อยา (drug resistance)
    • ทำให้เกิดระบบระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records- EHR) ต่างระบบกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศทางานร่วมกันได้ (Interoperability) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบการส่งต่อผู้ป่วย (Referral system)
  2. เพิ่ม Competitive advantage ให้กับประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้นาในสมาคมอาเซียน (Asian Community) เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนการเป็น Medical Hub ในเอเชียแปซิฟิก

ทำไมควรใช้รหัสยา TMT เป็นมาตรฐานรหัสยา

คุณสมบัติที่ควรมี รหัสยา TMT รหัสยา 24 หลัก
ข้อมูลขนาดการใช้ (Unit of Use) และขนาดบรรจุ (Pack size)
การเบิกจ่ายยาเป็นรายรายการในระดับ Trade product
Uniquely identify ยา ทั้งในระดับ Generic และ Trade product
จำนวนหลักของรหัส 6-18 24
ระบบตรวจสอบการลงรหัสผิด (Check digit system)
เชื่อมโยงระบบข้อมูลการสั่งยา (Drug Prescribing) ของแพทย์กับระบบข้อมูลการจ่ายยา (Drug Dispensing) ของเภสัชกรและระบบข้อมูลการบริหารยาของพยาบาลได้ (Drug Administrating)
สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (SNOMED-CT)

 

เอกสารเผยแพร่

[Download not found]

ที่มา/ข้อมูลเพิ่มเติม

ประชาสัมพันธ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาและคําแนะนําประชาชน เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบในประเทศที่มีการระบาดในวงกว้าง จำนวน 3 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน รวมทั้งสิ้น 13,676 ราย เสียชีวิต 4,910 ราย และพบในประเทศที่มีผู้ป่วยรายแรกหรือมีการระบาดในพื้นที่จำกัด จำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไนจีเรีย เซเนกัล สเปน สหรัฐอเมริกา และมาลี รวมทั้งสิ้น 27 ราย เสียชีวิต 10 ราย ทั้งนี้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เซเนกัล และไนจีเรีย ให้เป็นพื้นที่ปลอดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้วเมื่อ 17 และ 19 ตุลาคม 2557

[note note_color=”#da0538″ text_color=”#fedada”] **ในประเทศไทย ยังไม่เคยพบมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาก่อน**[/note]

วีดิทัศน์

โฮมรูม : เตือนภัย…ไวรัสอีโบลา (26 ส.ค.57)

ตอบโจทย์ : ไขปริศนาไวรัสอันตราย “อีโบลา” (1 ส.ค. 57)

คําแนะนําประชาชน เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข
  2. ไม่สัมผัสสัตว์ป่าที่นําเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
  3. ไม่รับประทานสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์จําพวกลิงหรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร

สื่อประชาสัมพันธ์

[Download not found] [Download not found]

ที่มา : สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

[คู่มือ]การเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มงานประกันสุขภาพยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ได้จัดทำคู่มือการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาบุคลากรโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. เพื่อเพิ่มประสทธิภาพของการสื่อสาร ประสานโปรแกรมระบบสารสนเทศ และการบันทึกรายงานใหคลองตัวและครอบคลุมทั่วทั้งองคกร
  3. เพื่อลดความสญเปล่าในกระบวนการปฏิบัติงาน (ระยะเวลา ตนทุน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)

ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศการบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทร

  1. การบันทึกการประชุมโรงพยาบาลโพธิ์ไทรเป็นระบบสารสนเทศที่อยู่บนระบบอินเตอร์เนตสามารถเข้าใช้งานได้โดยการเข้าเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (https://www.psh.go.th)
  2. ทำการเลือกเมนู บริการ > ระบบบันทึกการประชุม
    MeetingMemo-03-fs8
  3. ทำการล็อกอินเข้าใช้งานเว็บไซต์โรงพยาบาลโพธิ์ไทร (กรณีหากไม่มีชื่อเข้าใช้งาน สามารถทำการสมัครสมาชิก โดยกรอก Username และ Email ระบบจะทำการส่งขั้นตอนการสมัครไปที่อีเมล์ที่ระบุ)
    Howto-RM-03-fs8
  4. กรอกข้อมูลรายงานการประชุมที่เข้าร่วม
    MeetingMemo-01-fs8
  5. หากมีไฟล์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ไฟล์จากงานประชุมสามารถทำการแนบไฟล์ดังกล่าว โดยไฟล์ดังกล่าวขนาดต้องไม่เกิน 32 MB และรองรับไฟล์บีบอัดเท่านั้น (*.zip, *.rar, *.7zip)
    MeetingMemo-02-fs8
  6. กดปุ่ม ‘บันทึกการประชุม